วิชาพระพุทธศาสนา

หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ

1.หน้าที่ชาวพุทธ

หน้าที่ชาวพุทธประการหนึ่งก็คือ ต้องมีความรู้ความเข้าใจหน้าที่และบทบาทของภิกษุ ทั้งนี้เพื่อจะได้ปฏิบัติตนต่อท่านได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

1.1 หน้าที่และบทบาทของภิกษุสามเณร

เมื่อกุลบุตรผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบทแล้ว บทบาทและหน้าที่หลักเบื้องต้น ที่จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเหมือนกันในฐานะพระภิกษุสามเณรคือการศึกษาตามหลักไตรสิขา กล่าวคือ

1.ศีล จะต้องศึกษาพระวินัยแต่ละสิกขาบท ข้อวัตรปฏิบัติ ธรรมเนียมมารยาทต่างๆ ให้เข้าใจเพื่อจะได้สำรวมระวังและปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ ไม่ไห้เกิดโทษในทางวินัย

2. สมาธิ จะต้องศึกษาวิธีการเพิ่มพูนสมาธิ และหมั่นฝึกหัดขัดเกลาอบรมจิตใจให้เกิดความสงบเยือกเย็นมากขึ้นโดยลำดับ มีความหนักแน่นมั่นคง มีความละเอียดอ่อนเพื่อเป็นฐานคิดพิจารณาธรรมขั้นสูง และเพื่อให้สามรถใช้อำนาจแห่งสมาธิขจัดอุปสรรคทางความคิดที่เรียกว่า นิวรณ์ อันได้แก่ ความพอใจรักใคร่ในกามต่างๆ ซึ่งมักจะเกิดในใจคอยขัดขวางมิให้บรรลุความดี

3.ปัญญา จะต้องศึกษาเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพความคิดในการพิจารณาให้เข้าใจถึงความแท้ของสรรพสิ่ง และเพื่อใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือในการขจัดสาเหตุของความทุกข์ทั้งปวงโดยลำดับ จนกว่าจะบรรลุถึงภาวะแห่งความบริสุทธิ์ขั้นสูงสุด กล่าวคือ พระนิพพาน

การให้อบรมสั่งสอนด้วยการเผยแผ่พุทธธรรมในรูปแบบต่างๆ สู่สังคมถือเป็นบทบาทและหน้าที่หลักที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพระภิกษุสามเณร ซึ่งถือได้ว่าเป็นการให้คืนแก่สังคมอีกรูปแบบหนึ่ง สังคมต้องพึ่งพาการแนะนำพร่ำสอนจากพระภิกษุสามเณร ทั้งนี้พระภิกษุสามเณรให้ทำหน้าที่ตามบทบาทต่างๆ ดังนี้

1. พระนักเทศน์ พระภิกษุสามเณรที่ได้ศึกษาตามหลักไตรสิกขา และการศึกษาในด้านพระปริยัติธรรม อันได้แก่ การศึกษาหลักพระพุทธธรรมจากพระไตรปิฎกคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ จนมีความแตกฉานชำนาญในระดับหนึ่งแล้ว ก็จะนำมาแสดงหรือเผยแผ่สู่สังคม

5112_1

2.พระธรรมทูต เป็นคำที่ใช้เรียกพระภิกษุที่เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างประเทศ  ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักได้รับการอาราธนาจากพุทธศาสนิกชนชาวไทย และชาวต่างประเทศในประเทศนั้นๆและเนื่องจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ มีความจำเป็นที่พระภิกษุจะต้องศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องอื่นๆ เช่น ภาษา ขนบธรรมเนียมปฏิบัติ วิถีการดำรงชีวิต เพื่อจะได้สามารถปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตในต่างประเทศได้

adbgh69ij9cab6kje95fg

3.พระธรรมจาริก ในบางถูมิภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่สูงป่าเขาลำเนาไพรบางแห่งและบริเวณพรหมแดนใกล้รอยต่อระหว่างประเทศจะมีประชาชนอีกหลายกลุ่ม หลายเผ่าพันธุ์ตั้งหมู่บ้านอยู่ตั้งแต่อดีตอีกจำนวนมาก ทำให้ประชาชนเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพัฒนา หรืออาจเรียกได้ว่าผู้ด้อยและขาดโอกาสในการได้รับการพัฒนา จึงพบว่าประชาชนเหล่านี้มักมีคติความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปและบางกลุ่มก็เป็นพุทธศาสนิกชนแต่มีความเชื่อที่ผิดไปจากหลักธรรมที่แท้จริง ทั้งนี้เพราะไม่มีพระภิกษุสามเณรที่มีความรู้แตกฉานคอยให้คำแนะนำพร่ำสอน พระภิกษุสามเณรบางรูได้จาริก (เดินธุดงค์) ไปพบเหตุการณ์ดังกล่าวนี้จึงได้อนุเคราะห์ด้วยการพำนักอยู่ร่วมกับประชาชนเหล่านี้ เพื่อให้การศึกษาอบรมหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง

IMG_7297

4.พระวิทยากร หมายถึง พระภิกษุที่มีบทบาทในการให้ความรู้และการทำหน้าที่ในการให้ความรู้และทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนหลักธรรม ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และการประยุกต์ธรรมเข้ากับการดำรงชีวิตแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า

17

5.พระวิปัสสนาจารย์ หมายถึง พระภิกษุที่มีความชำนาญพิเศษทั้งด้านการปฏิบัติ และในด้านการให้คำแนะนำวิธีปฏิสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ทำหน้าที่แนะนำและให้ฝึกอบรมสมถกรรมและวิปัสสนากรรมฐานแก่พระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป โดยมากจำพรรษาอยู่ในเสนาสนะที่สงบสงัด เป็นผู้นำทางด้านจิตใจให้แก่ประชาชนผู้ต้องการปฏิบัติธรรมชั้นสูง

00000636_0_20130525-140909

6.พระนักพัฒนา ในบางพื้นที่ของประเทศไทย ประชาชนยังมีความเป็นอยู่อัตคัตขัดสนจากปัญหาความยากจน การพัฒนาพื้นที่และปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่สมดุลพระภิกษุบางรูปที่วิเคราะห์เห็นปัญหาของประชาชนในพื้นที่ จึงเริ่มช่วยเหลือด้านการให้คำแนะนำและส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย บางรูปเป็นผู้นำในการรณรงค์ให้ประชาชนรักษาศีล 5 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข กล่าวโดยรวมว่า พระภิกษุที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้านในลักษณะเช่นนี้ท่านได้มีบทบาทในฐานะ พระนักพัฒนา

600-t131212.10

 

กล่าวโดยสรุป บทบาทและหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ล้วนดำเนินไปเพื่อประโยชน์ของคนในสังคมโดยส่วนรวม ผู้ที่เห็นการบำเพ็ญประโยชน์ของพระภิกษุสามเณรในบทบาบต่างๆดังกล่าวจึงควรถวายการสนับสนุนอุปถัมภ์บำรุงท่านด้วยปัจจัย 4 และสิ่งของที่จำเป็น เพื่อให้ท่านได้ดำรงชีวิตในวิถีแห่งสมณะ และได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมได้สะดวกมากขึ้น

1.2 การปฏิบัติตามหลักทิศเบื้องล่างในทิศ 6 

พระพุทธศาสนามีคำสอนเรื่องทิศ 6 คือ หลักในการปฏิบัติตนกับบุคคลประเภทต่างๆ ในสังคม 6 ประเภท

 1) การปฏิบัติตนต่อคนงาน ลูกจ้าง และคนรับใช้

นายพึงปฏิบัติต่อคนงาน ลูกจ้าง คนรับใช้ ดังนี้

1.จัดการงานให้ตามความเหมาะสมกับกำลังและความสามารถ

2. ให้ค่าจ้างรางวัล พอสมควรแก่งานและกำลังความสามารถ

3. จัดสวัสดิการดี เช่น ช่วยรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บไข้

4. ได้ของพิเศษแปลกๆมา ก็แบ่งปันให้ตามสมควร

5. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสอันควร

2) การปฏิบัติตนต่อนายจ้าง 

คนรับใช้ คนงานและลูกจ้าง ควรปฏิบัติต่อนายจ้าง ดังนี้

1. เริ่มทำการงานก่อนนาย

2. เลิกงานทีหลังนาย

3. ถือเอาแต่ของที่นายให้

4. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น

5. นำเกียรติคุณของนายไปเผยแพร่

1.3 หน้าที่และบทบาทของอุบาสกอุบาสิกาที่มีต่อสังคมไทยในปัจจุบัน

อุบาสก (ชาย) และอุบาสิกา (หญิง) หมายถึง ชาวพุทธผู้ครองเรือนหรือคฤหัาถ์ผู้อยู่ใกล้พระศาสนา ซึ่งอุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อพระศาสนาและประกอบกิจกรรมทางศาสนามากกว่าชาวพุทธทั่วไป เช่น สามทานรักษาพระอุโบสถศีล (ถือศีล 8) ในวันพระเป็นต้น อุบาสก อุบาสิกาที่ดีควรยึดหลัก ” อุบาสกธรรม 7 ” เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติตน ดังนี้

1.หมั่นไปวัดตามโอกาสที่เหมาะสม เพราะ การไปวัดจะได้พบปะกับพระภิกษุผู้ทรงศีลทรงคุณธรรมหรือได้พบกับมิตรที่สนใจในเรื่องธรรมเหมือนกับเรา ย่อมได้ชื่อว่าเป็นการคบหากัลยาณมิตร หรือเรียกว่ามิตรที่ดี ซึ่งจะส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า
ยํ เว เสวติ ตาทิโส ( ยังเว เสวะติ ตาทิโส ) คบคนเช่นไรก็เป็นคนเช่นนั้นแล
2. หมั่นฟังธรรม เมื่อมีโอกาสควรใส่ใจในการฟังธรรมอยู่เสมอ เพราะการฟังธรรมเป็นเหตุให้ได้รู้สิ่งไม่รู้ ส่วนสิ่งที่รู้แล้วก็จะช่วยให้เข้าใจยิ่งขึ้น เช่น การไปวัดเพื่อฟังเทศน์ ฟังธรรมตามโอกาสต่าง ๆ ฟังการแสดงธรรมเทศนาทางวิทยุหรือทางโทรทัศน์  เป็นต้น
3.พยายามสนใจศึกษาและรักษาศีลให้บริสุทธิ์ โดยนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศานามาใช้ปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจว่าตนเองว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง
4. มีความเลื่อมใสในพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพราะพระสงฆ์แต่ละรูปได้เสียสละความสุขทางโลก เพื่อมาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอันเป็นหนทางไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์และพระสงฆ์ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวตลอดไป
5. ตั้งจิตให้เป็นกุศลในขณะฟังธรรม มิใช่ฟังธรรมโดยคิดในแง่ อคติ คิดขัดแย้ง พยายามฟังธรรมเพื่อก่อให้เกิดกุศล จิตใจจะได้เป็นสุข
6. ทำบุญกุศลตามหลักและวิธีการของพระพุทธศาสนา ไม่แสวงบุญนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า ควรประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
7.ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาในทุก ๆ ด้าน ถ้าสามารถช่วยเหลือพระพุทธศาสนาได้ ด้วยวิธีการใดก็ควรขวนขวายเร่งรีบกระทำ อาทิ การตั้งชมรมพุทธศาสน์ในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย จัดให้มีการอบรมเยาวชน บุคคลทั่วไป หรือ คนต่างชาติให้เข้าใจใน พระพุทธศาสนา

2. มารยาทชาวพุทธ

2.1 การปฏิสันถารที่เหมาะสมต่อพระภิกษุ

 ปฏิสันถาร หมายถึง การทักทายปราศรัยหรือต้อนรับในโอกาสต่างๆ ในงานพิธีที่ต้องมีพระภิกษุประกอบในงานด้วย พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนในการปฏิสันถารต่อภิกษุสงฆ์อย่างเหมาะสมดังนี้

 1) การลุกขึ้นต้อนรับ  การลุกขึ้นต้อนรับมาจากคำว่า ” อุฏฐานะ ” เป็นการเคารพอย่างหนึ่งเมื่อพระสงฆ์เดินมายังสถานที่พิธีนั้นๆ คฤหัสถ์ชายหญิงที่นั่งอยู่ในงานนั้นพึงปฏิบัติ ดังนี้

  1.1 ถ้านั่งเก้าอี้พึงลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านพึงยกมือไว้แบบพระรัตนตรัย เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้วจึงนั่งลงตามปกติ

1.2 ถ้านั่งกับพื้นไม่ต้องยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้าพึงยกมือไหว้หรือกราบสุดแท้แต่ความเหมาะสมในสถานที่นั้นๆ

2) การให้ที่นั่งพระสงฆ์ การให้ที่นั่งพระสงฆ์ มาจากคำว่า ” อาสนทาน ” ใช้ในเวลาพระสงฆ์มามณฑลพิธีซึ่งไม่มีที่ว่าง การแสดงความเคารพแก่พระสงฆ์พึงปฏิบัติดังนี้ 

2.1 ถ้าสถานที่ชุมนุมนั้นนั่งเก้าอี้ เมื่อพระสงฆ์มาในงานนั้น ฆราวาสชายหญิงพึงลุกขึ้นให้พระสงฆ์มานั่งเก้าอี้แถวหน้า

 2.2 ถ้าจำเป็นต้องนั่งแถวเดียวกับพระสงฆ์ พึงนั่งเก้าอี้ด้านซ้ายมือท่านเสมอ

 2.3 สำหรับสตรีเพศจะนั่งอาสนะยาว เช่น ม้ายาวเดียวกับพระสงฆ์ต้องมีบุรุษเพศนั่คั่นในระหว่างกลาง จึงไม่เกิดโทษแก่พระสงฆ์

2.4 ถ้าสถานที่ชุมนุมนั้นนั่งกับพื้น พึงจัดอาสนสงฆ์ให้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากฆราวาส

3) การรับรอง วัตถุทุกส่งที่ใช้ต้องมีฐานรองรับ เช่น ตึกต้องมีเสาเข็มเป็นฐานรองรับ แต่สำหรับคนมีคุณธรรมเป็นฐานรองรับ แต่สำหรับคนมีคุณธรรมเป็นฐานรองรับ อันได้แก่

3.1 เมื่อท่านมาถึงบ้านหรือสถานที่แล้ว ควรรับรองท่านด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี ด้วยใบหน้าอันยิ้มแย้มแจ่มใสพอใจรับรอง เช่น นิมนต์ให้นั่งในที่อันสมควรซึ่งได้จัดไว้

3.2 ถวายของรองรับ เช่น น้ำดื่ม น้ำชา น้ำเย็น เป็นต้น

3.3 ควรนั่งสนทนากับท่านด้วยความพอใจ ไม่ควรปล่อยให้ท่านนั่งอยู่รูปเดียวอนึ่ง การนั่งนั้นพึงนั่งเว้นโทษ 6 อย่างดังนี้

1. ไม่นั่งตรงหน้า

2. ไม่นั่งไกลนัก

3. ไม่นั่งสูงกว่า

4. ไม่นั่งข้างหลัง

5. ไม่นั่งใกล้นัก

6. ไม่นั่งเหนือลม

4) การตามส่งพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ที่ท่านมาเยี่ยม หรือที่นิมนต์ท่านมาในงานพิธีต่างๆ จะกลับ เจ้าภาพหรือผู้อยู่ในงานพิธีนั้นควรปฏิบัติดังนี้ 

 4.1 ถ้านั่งเก้าอี้พึงลุกขึ้นยืน เมื่อท่านเดินมาเฉพาะหน้า ให้ยกมือไหว้

4.2 ถ้านั่งกับพื้นไม่ต้องยืน เมื่อท่านเดินผ่านมาเฉพาะหน้า พึงไหว้หรือกราบแสดงความเคารพตามความเหมาะสมแก่สถานที่

 4.3 สำหรับเจ้าภาพในงาน พึงเดินไปส่งท่านจนพ้นบริเวณงานหรือจนกว่าจะขึ้นรถออกจากบริเวณหน้างาน อนึ่ง ก่อนที่ท่านจะจากไปพึงยกมือไหว้เพื่อแสดงความเคารพเป็นการส่งท่าน

2.2 การปฏิสันถารตามหลักปฏิสันถาร 2

การปฏิสันถาร คือ การต้อนรับแขกผู้มาเยือน อาจทำได้หลายวิธี คือ ปฏิสันถารด้วยวาจา ปฏิสันถารด้วยการให้ที่พักอยู่อาศัย  และปฏิสันถารด้วยการแสดงน้ำใจต่อกัน

หลักการปฏิสันถารสามารถปฏิบัติได้ 2 อย่างดังนี้

1. อามิสปฏิสันถาร คือ การต้อนรับด้วยสิ่งของ เช่น อาหาร น้ำดื่ม เป็นต้น

2. ธรรมปฏิสันถาร คือ การต้อนรับด้วยธรรม เช่น แนะนำทางธรรม ให้กำลังใจปลอบโยนให้คลายทุกข์ เป็นต้น

 738299vt6qv1ppxh

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี

1. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

  1.1 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

        1) วันมาฆบูชา

maka01

               วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ 4 คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ 1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น

ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ 3 ประการ คือ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว

หลักคำสอน 3 ประการ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้อย่างนี้ถือเป็นธรรมนูญของพระสงฆ์ใน การยึดถือปฏิบัติต่อไป

 

 2.) วันวิสาขบูชา

268_1370236637.jpg_147

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญมาบรรจบกัน คือ

1. เป็นวันคล้ายวันประสูติของพระพุทธเจ้า ณ สวนลุมพินีวัน ประเทศอินเดีย

2. เป็นวันตรัสรู้ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองราชคฤห์

3. เป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ สาละโนทยาน เมืองกุสินารา

หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา เป็นเหตุการณ์ในวันตรัสรู้ ที่พระองค์ทรงพิจารณาอริยสัจ 4 โดยละเอียด จนสามารถหมดกิเลสและอาสวะอย่างสิ้นเชิง หลักธรรมข้ออริยสัจ 4 หรืออริยมรรคมีองค์ 8

อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมข้อสำคัญที่เป็นหัวใจหลักของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธเจ้าได้ประกาศพระพุทธศาสนาแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน

 

 3.) วันอัฏฐมีบูชา

art_243248

วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธเจ้า ที่เมืองกุสินารา ซึ่งตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 คือ หลักพุทธปรินิพพาน 7 วัน สำหรับกิจกรรมที่ชาวพุทธควรปฏิบัติในวันนี้คือ ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม เวียนเทียน เพื่อเป็นพุทธบูชา

หลักธรรมที่เกี่ยวข้องในวันนั้น คือ หลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง-ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป ทุกขัง-ความเป็นทุกข์ ภาวะบีบคั้นที่ถูกบังคับด้วยการเกิดขึ้นแล้วสลายไปเพราะปัจจัยปรุงแต่ง อนัตตา-สภาวะความไม่มีตัวตนที่เที่ยงแท้แน่นอน

หลักไตรลักษณ์เป็นหลักประสานประโยชน์ของความจริงในชีวิตที่เราพึงเห็นได้ตามหลักความจริงด้วยปัญญา

 

 4.) วันอาสาฬหบูชา

99_114

  วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ถือเป็นวันสำคัญที่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดพระพุทธศาสนาขึ้นในโลก มีความสำคัญ 3 ประการ คือ

1. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก เรียกว่า ปฐมเทศนา

2. เป็นวันที่พระอริยสงฆ์องค์แรกเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ

3. เป็นวันที่พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นในโลก ครบทั้ง 3 ประการบริบูรณ์

วันอาสาฬหบูชา มีหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง คือ การแสดงปฐมเทศนาพระพุทธเจ้าโดยพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ได้กล่าวถึงหลักอริยสัจ 4 ที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังมีหลักสัจธรรมที่ทำให้พระโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ ?สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา? สัจธรรมข้อนี้ทำให้โกณฑัญญะเข้าใจแจ่มแจ้งในพระธรรม จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

 

   5.) วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา-04

 วันเข้าพรรษา คือ วันที่พระภิกษุสงฆ์กระทำพิธีอธิษฐานเพื่อเข้าอยู่จำพรรษาภายในอารามตลอด 3 เดือน ในช่วงฤดูฝน โดยไม่พักแรมค้างคืนในที่อื่น นอกจากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องไปจริง ซึ่งก็มีข้ออนุญาตตามพระวินัย

ในการกำหนดวันเข้าพรรษานั้น พระวินัยสงฆ์ได้กำหนดไว้เป็น 2 ภาค ดังนี้ คือ

1. ปุริมพรรษา คือ วันที่พระสงฆ์ทำพิธีอธิษฐานเข้าจำพรรษาในภาคแรก โดยเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

2. ปัจฉิมพรรษา คือ วันที่พระสงฆ์ทำพิธีอธิษฐานเข้าจำพรรษาหลัง เพราะไม่ทันในภาคแรกโดยเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

 การปฏิบัติตนในเทศกาลเข้าพรรษาของพระภิกษุ

1. ก่อนวันเข้าพรรษา พระภิกษุต้องเตรียมทำความสะอาดหรือซ่อมแซมเสนาสนะที่จำพรรษา

2. เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พระภิกษุสงฆ์จะประชุมพร้อมกันที่พระอุโบสถ ทำวัตรสวดมนต์เสร็จแล้วจะประกอบพิธีอธิษฐานเข้าพรรษา

3. หลังจากกล่าวคำอธิษฐานเข้าพรรษาแล้ว พระภิกษุสงฆ์จะทำพิธีขอขมาโทษต่อกันเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ถ้าหากจะมีโทษที่เคยล่วงเกินกันทางกาย วาจา และใจก็ดี ทั้งต่อหน้า และลับหลังก็จะได้อโหสิให้แก่กันและกัน เพื่อความบริสุทธิ์ของคณะสงฆ์ที่อยู่ร่วมกัน

สำหรับพุทธศาสนิกชนก็มีข้อปฏิบัติตนคือ

1. ก่อนวันเข้าพรรษา  ควรช่วยกันบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะของพระภิกษุสงฆ์

2. จัดหาเครื่องไทยธรรม เช่น ผ้าอาบน้ำฝน เทียนจำพรรษา หรือสิ่งจำเป็นอื่น ๆ สำหรับพระภิกษุแล้วนำไปถวายพระสงฆ์ในวันเข้าพรรษา เป็นต้น

3. เมื่อวันเข้าพรรษา ควรอธิษฐานเพื่อทำความดีตลอดพรรษา เช่น รักษาศีล ฟังเทศน์ทุกวันพระ เป็นต้น งดเว้นจากสิ่งเสพติดทุกชนิด และงดเว้นจากอบายมุขทุกอย่าง

 

  6.) วันออกพรรษา

t1511

 วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์เมื่ออยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว ก็ทำพิธีออกพรรษา ซึ่งเรียกวันนี้ว่า ?วันปวารณา? คำว่า ?ปวารณา? แปลว่า อนุญาตหรือยินยอม หมายความว่า พระภิกษุสงฆ์ซึ่งอยู่ร่วมพรรษา ต่างก็ยินยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้

การทำปวารณาในวันออกพรรษา เป็นพิธีของคณะสงฆ์ โดยมุ่งเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปลดทิฏฐิมานะ ยอมให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ เพื่อให้หมู่คณะมีศีลและข้อปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน

สำหรับพุทธศาสนิกชน เมื่อถึงวันออกพรรษาก็ทำบุญตามประเพณี เช่น การทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะ ฟังเทศน์ รักษาศีล เป็นต้นและยังมีประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องปฏิบัติ คือประเพณีตักบาตรเทโว โดยเชื่อตามหลักพุทธประวัติตอนหนึ่งที่กล่าวว่าพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้ แล้วในพรรษาที่ 7 ได้เสด็จไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา และเมื่อถึงวันออกพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จึงได้เสด็จลงจากสวรรค์ที่เมืองสังกัสสนครและในวันนี้มีคนไปรอเฝ้ารับเสด็จ เป็นจำนวนมากและได้ร่วมกันทำบุญตักบาตรพระพุทธเจ้าด้วย

 2. ศาสนพิธี

          2.1 พิธีกรรมและงานพิธี

 ศาสนพิธี หมายถึง ระเบียบแบบแผนหรือแบบอย่างที่พึงปฏิบัติในศาสนาเมื่อนำมาใช้ในพระพุทธศาสนาจึงหมายถึงระเบียบแบบแผนหรือแบบอย่างที่พึงปฏิบัติในพระพุทธศาสนาศาสนพิธีเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกศาสนาซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะความเชื่อของศาสนาหรือลัทธินั้นๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังศาสนา โดยศาสนาต่าง ๆ จะเกิดขึ้นมาก่อนแล้วพิธีกรรมต่างๆ จึงเกิดขึ้น แม้จะไม่ใช่สิ่งที่เป็นแก่นสารของศาสนาแต่ท่านผู้รู้ก็เปรียบพิธีกรรมหรือศาสนพิธีว่าเป็นดังเปลือกต้นไม้ซึ่งคอยห่อหุ้มแก่นของต้นไม้คือเนื้อแท้ของศาสนาไว้โดยทั้งสองส่วนนี้จะต้องอาศัยกันและกัน กล่าวคือ หากไม่มีแก่นแท้ของศาสนาศาสนพิธีก็อยู่ได้ไม่นาน หรือหากมีเฉพาะแก่นของศาสนาแต่ไม่มีศาสนพิธีแก่นแท้ของศาสนาก็อยู่ได้ไม่นานเช่นเดียวกับต้นไม้ที่มีแต่เปลือกไม่มีแก่นหรือมีแต่แก่นไม่มีเปลือกฉะนั้น

ศาสนพิธีของพระพุทธศาสนาก็เช่นกันเป็นสิ่งที่ช่วยหล่อเลี้ยงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาไว้เหมือนเปลือกของต้นไม้คอยปกป้องแก่นไม้ไว้ แต่อย่างไรก็ดี การทำพิธีต่างๆของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันได้มีจุดหักเหที่จะกลายเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาโดยไปยึดเอาว่าศาสนพิธีนั้นคือแก่นของพระพุทธศาสนา และยึดถืออยู่อย่างนั้นอย่างแนบแน่นดังนั้นจึงควรศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีให้ถ่องแท้ตามหลักการของพระพุทธศาสนา
เพื่อจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตรงตามจุดมุ่งหมาย

 

 คุณค่าของศาสนพิธี
ในการประกอบศาสนพิธีทุกครั้ง ควรคำนึงถึงคุณค่าและประโยชน์ของพิธีนั้น ๆมากกว่าจะไปยึดติดอยู่กับขั้นตอนหรือ
ส่วนประกอบเล็กน้อยที่ไม่เกี่ยวข้อง คุณค่าและประโยชน์ของศาสนพิธีมีดังนี้

1.ศาสนพิธีเป็นเหมือนเปลือกที่ห่อหุ้มสาระของพระพุทธศาสนาเอาไว้ให้ปลอดภัยและนำมาใช้ได้เป็
นประโยชน์แก่บุคคล สังคม ประเทศชาติได้อย่างยาวนาน
2.ศาสนพิธีเป็นเหมือนเครื่องมือที่ทำให้คนมารวมกันทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีระหว่างคนใ
นชุมชน สังคม และในประเทศ
3. ศาสนพิธีเป็นเครื่องมือในการจัดสรรสภาพแวดล้อม ให้คนได้มีโอกาสเข้ามาใกล้ชิดกับศาสนาและได้เรียนรู้สาระของพระพุทธศาสนา ทั้งทางตรงและทางอ้อม
4. ศาสนพิธีเป็นเครื่องหมายที่แสดงออกซึ่งความเป็นชาติ ที่มีวัฒนธรรมประเพณี และขนบธรรมเนียมอันดีงาม เพราะวัฒนธรรมประเพณี
และขนบธรรมอันดีงามเหล่านี้ล้วนแล้วแต่อิงอาศัยอยู่กับแนวคิดทางศาสนา และศาสนพิธีทั้งสิ้น

 

ประโยชน์ของศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาต่อผู้ปฏิบัติ คือ
1. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจแก่พุทธศานิกชนให้หมั่นทำความดี ละเว้นความชั่วบำเพ็ญจิตใจให้สุขสงบ
2. พุทธศาสนิกชนได้นำไปปฏิบัติเพื่อเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต
3. เป็นส่วนของการสร้างศรัทธาต่อศาสนาและยึดถือหลักธรรม
4. เมื่อยึดถือปฏิบัติเป็นสรณะแล้ว จะก่อให้เกิดความสุข ความปิติ จิตขาวสะอาดขึ้น เป็นต้น

 

  2.2 บทสวดมนต์ของนักเรียน

วิธีสวดมนต์ไหว้พระของนักเรียน
กระทรวงศึกษาธการได้ออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการสวดมนต์ไหว้พระของนักเรียน พ.ศ.๒๕๐๓
ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้มาอยู่เดิมก่อนหน้านี้แล้ว มีดังนี้
แบบสวดมนต์ไหว้พระประจำวัน (ก่อนเข้าเรียน)

อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา
สฺวากฺขาโต ภควาตา ธมฺโม
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวก สงฺโฆ

พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ (กราบ)
ธมฺมํ นมสฺสามิ (กราบ)
สงฺฆํ นมามิ (กราบ)

แบบคำสวดมนต์ไหว้พระวันสุดท้ายของสัปดาห์ (ตอนเลิกเรียน)
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา ….สงฺฆํ นมามิ
สวดบทนมัสการ
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส (ว่าสามครั้ง)
สวดบทพระพุทธคุณ
อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมา สมฺพุทฺโธ วิชฺชาจารณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
สตฺถาเทวมนุสสานํ พุทฺโธ ภควาติ
(สวดทำนองสรภัญญะ)

องค์ใดพระสัมพุทธ         สุวิสุทธสันดาน
ตัดมูลเกลศมาร         บ มิหม่น มิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน         ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคี บ พันพัว         สุวคนธกำจร
องค์ใดประกอบด้วย         พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร         มละโอฆกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์         และชี้สุขเกษมสานต์
ชี้ทางพระนฤพาน         อันพ้นโศกวิโยคภัย
พร้อมเบญจพิธจัก         ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล         ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ         สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง         มละบาปบำเพ็ญบุญ
ข้าขอประณตน้อม         ศิระเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ         ญภาพนั้นนิรันดร ฯ (กราบ)

สวดบทพระธรรมคุณ
สวากฺ ขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญู หีติ
(สวดทำนองสรภญญะ)

ธรรมะคือคุณากร     ส่วนชอบสาธร
ดุจดวงประทีปชัชวาล
แห่งองค์พระศาสดาจารย์     ส่องสัตว์สันดาน
สว่างกระจ่างใจมล
ธรรมใดนับโดยมรรคผล     เป็นแปดพึงยล
และเก้ากับทั้งนฤพาน
สมญาโลกอุดรพิสดาร     อันลึกโอฬาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
อีกธรรมต้นทางครรไล     นามขนานขานไข
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง
คือทางดำเนินดุจคลอง     ให้ล่วงลุปอง
ยังโลกอุดรโดยตรง
ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์     นบธรรมจำนง
ด้วยจิต และกายวาจา ฯ     (กราบ)

 

สวดบทพระสังฆคุณ

สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐปุริสปุคคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเนยฺโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ

(สวดทำนองสรภญญะ)
สงฆ์ใดสาวกศาสดา     รับปฏิบัติมา
แต่องค์สมเด็จภควัน
เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร       ลุทางที่อัน
ระงับและดับทุกข์ภัย
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร      ปัญญาผ่องใส
สะอาดและปราศมัวหมอง
เหินห่างทางข้าศึกปอง       บ มิลำพอง
ด้วยกายและวาจาใจ
เป็นเนื้อนาบุญ อันไพ      ศาลแก่โลกัย
และเกิดพิบูลย์พูนผล
สมญาเอารสทศพล      มีคุณอนนต์
เอนกจะนับเหลือตรา
ข้าขอนบหมู่พระศรา      พกทรงคุณา
นุคุณประดุจรำพัน
ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์       พระไตรรัตน์อัน
อุดมดิเรกนิรัตศัย
จงช่วยขจัดโพยภัย        อันตรายใดใด
จงดับและกลับเสื่อมสูญ        (กราบ)

 

บทสวดชัยสิทธิคาถา

พาหุ ํ สหสฺ สมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ    คฺรีเมขลํ อุทิตโฆรสเสนมารํ ทานาทิธมฺมวิธินา ชิตวา มุนินฺโท     ตนฺ เตชสา ภวตุเต ชยสิทฺธิ นิจฺจํ
(สวดทำนองสรภญญะ)
ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุท      ธะวิสุทธะศาสดา
ตรัสรู้อนุตตะระสะมา     ธิ ณ โพธิบัลลังก์
ขุนมารสหัสสะพหุพา     หุวิชาวิชิตขลัง
ขี่คีริเมขะละประทัง     คชะเหี้ยมกระเหิมหาญ
แสร้งเสกสะราวุธะประดิษฐ์     กละคิดจะรอนราญ
รุมพลพหลุพยุหปาน     พระสมุททะนองมา
หวังเพื่อผจญวะระมุนิน     ทะสุธินะราชา
พระปราบพหล พยุหะมา     ระมะเลืองมะลายสูญ
ด้วยเดชะองค์พระทศพล     สุวิมละไพบูลย์
ทานาทิธรรมะวิธิกูล      ชยะน้อมมโนตาม
ด้วยเดชะสัจจะวะจะนา     และนมามิองค์สาม
ขอจงนิกรพละสยาม     ชยะสิทธิทุกวาร
ถึงแม้จะมีอริวิเศษ     พละเดชะเทียมมาร
ขอไทยผจญพิชิตะผลาญ      อริแม้นมุนินทร ฯ   (กราบ ๓ ครั้ง)

 

สวดบทเคารพคุณมารดาบิดา

อนนฺตคุณสมฺปนฺนา          ชเนตฺติ ชน กา อุโภ มยฺหํ มาตา ปิตูนํว         ปาเท วันทามิ สาทรํ
สวดบทเคารพคุณมารครูอาจารย์

ปาเจราจริยา โหนติ     คุณุตฺตรา  นุสาสกา
ข้าขอนบน้อม สักการ     บูรพคณาจารย์
ผู้กอปรประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา      อบรมจริยา
แด่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์     ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา     อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสำเร็จทุกประการ     อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้เกิดเป็นเกียรติเป็นศรี      ประโยชน์ทวี
แด่ชาติและประเทศไทย  เทอญ
ปญฺญาวุฒิกเรเตเต     ทินฺโนวาเท  นมามิหํ

 

 2.3 พิธีบรรพชาอุปสมบท
ความหมายของคำว่า “บวช”  คำว่า “บวช” นี้ เราเอามาใช้ในภาษาไทย มาจากคำว่า “ปะวะชะ” ในภาษาบาลี แปลว่า งดเว้น ผู้ที่เป็นนักบวชก็คือ ผู้งดเว้น งดเว้นเรื่องอะไร งดเว้นจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบของจิตใจ ผู้ที่เป็นนักบวชนี้เขาเรียกว่า ประพฤติพรหมจรรย์ อันหมายถึง ความบริสุทธิ์ของจิตใจ     โ ด ย : พระธรรมโกศาจารย์ ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

 

ผู้ที่จะบวชเป็นพระได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่นติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด
2. มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้
3. ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ
4. ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน
5. เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ
6. มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย
7. เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ

 

ลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวช
1.เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน
2.เป็นคนหลบหนีราชการ
3.เป็นคนต้องหาในคดีอาญา
4.เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
5.เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา
6.เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่นวัณโรคในระยะอันตราย
7.เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้
การเตรียมตัวก่อนบวช
ผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลีหรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่อง ก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน
นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวช อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้

 738299vt6qv1ppxh

 การบริหารจิตและการเจริญปัญญา

1. การบริหารจิต

การบริหารจิต  คือ  การฝึกอบรมจิตใจให้มีความสมบูรณ์อย่างเต็มที่  จิตที่ผ่านการฝึกฝนจะมีความอ่อนโยน  นุ่มนวล  เข้มแข็งและปลอดโปร่ง  พร้อมที่จะเป็นฐานแห่งการเจริญปัญญาจึงมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  และเป็นพื้นฐานของกันและกัน  บุคคลที่ได้ว่าเป็นคนที่พัฒนาแล้วจะต้องเป็นบุคคลที่ผ่านการฝึกสมาธิและเจริญวิปัสสนามาอย่าครบถ้วน

  1.1 วิธีปฏิบัติการบริหารจิต

 

122789083711

1.เลือกสถานที่ที่เหมาะสม เช่น สถานที่ปลอดโปร่งไม่มีเสียงรบกวน

2.เลือกเวลาที่เหมาะสม เช่น ตอนเช้า ก่อนนอน เวลาที่ใช้ไม่ควรนานเกินไป
3.สมาทานศีล เป็นการแสดงเจตนาเพื่อทำใจให้บริสุทธิ์สะอาด
4.นมัสการพระรัตนตรัยและสวดมนต์สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย
5.ตัดความกังวลต่างๆ ออกไป

   1.2 ประโยชน์ของการบริหารจิต
การบริหารจิตอยู่เป็นประจำ ย่อมได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ด้านการดำรงชีวิตประจำวัน ได้แก่ การทำจิตใจสบาย ไม่มีความวิตกกังวล ความเครียด มีความจำดีขึ้น แม่นยำขึ้น ทำสิ่งต่างๆ ไม่ผิดพลาดหรือผิดพลาดน้อย เพราะมีสติสมบูรณ์ขึ้น การศึกษาเล่าเรียนและการทำงาน เกิดผลดีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การมีจิตเป็นสมาธิ ยังทำให้นอนหลับง่ายและหลับสนิท รวมทั้งมีผลเกื้อกูลต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ชะลอความแก่ ทำให้ดูอ่อนกว่าวัย และรักษาโรคบางอย่างได้ เช่น โรคความดัน โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น

2. ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ได้แก่ ทำให้บุคลิกภาพเข็มแข็ง หนักแน่นมั่นคง สงบเยือกเย็น ไม่ฉุนเฉียวเกรี้ยวกราด มีความสุภาพอ่อนโยน ดูสง่ามีราศี องอาจน่าเกรงขาม มีอารมณ์เบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า ไม่เซื่องซึม สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ได้

3. ด้านประโยชน์สูงสุด ได้แก่ การบรรลุมรรคและนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ผู้ที่จะบรรลุถึงประโยชน์ระดับนี้ได้นั้น ต้องมีจิตที่สงบแน่วแน่มาก คือ ต้องได้สมาธิระดับสูง

 1.3 การบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน 4 หรือ ฝึกสมาธิโดยใช้สติเป็นตัวนำ เรียกกันโดยทั่วไปว่าสติปัฏฐาน เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก และยกย่องนับถืออย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัว
มีพุทธพจน์ในมหาสูตรปัฏฐานสูตรว่า “…ภิกษุ ทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกและปริเทวะ เพื่อความอัศดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพานนี้คือสติปัฏฐาน 4…”

 สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 

1.กายานุปัสสนา การพิจารณากายหรือตามดูรู้ทันกาย การตั้งสติอยู่ที่กิริยาของกาย มีอยู่หลายจุดได้แก่

1) อานาปานสติ คือการตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
2) กำหนดอิริยาบถ คือเมื่อยืน เดิน นั่ง นอน หรือร่างกายอยู่ในอาการอย่างไร ก็รู้ชัดในอาการที่เป็นอยู่นั้น
3) สัมปชัญญะ คือสร้างสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ในการกระทำหรืออาการเคลื่อนไหวทุกอย่างของกาย เช่น การก้าวเดิน การนุ่งห่มผ้า การกิน การอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้
4) ปฏิกูลมนสิการ  คือการพิจารณาร่างกายของตนตั้งแต่ศีรษะ จรดปลายเท้า ซึ่งมีส่วน ประกอบ ที่ไม่สะอาด มากมายมารวมอยู่ด้วยกัน
5) นวสีวถิกา คือการมองเห็นศพที่อยู่ในสภาพต่างๆกันโดยระยะเวลา 9 ระยะ ตั้งแต่ตายใหม่ๆไปจนถึงกระดูกผุๆ แล้วย้อนมาดูร่างกายของตน ก็ต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

       2. เวทนานุปัสสนา เป็นการตั้งสติ ตามดูรู้ทันเวทนา คือเมื่อเกิดความรู้สึกสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆก็ดี ก็ให้รู้ชัดตามที่เป็นอยู่ขณะนั้น
3.จิตตานุปัสสนา เป็นการตั้งสติ ตามดูรู้ทันจิต คือจิตของตนในขณะนั้นเป็นอย่างไร เช่นมีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ ฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ

   4. ธัมมานุปัสสนา เป็นการตั้งสติ การตามดูรู้ทันธรรม ได้แก่
 1) นิวรณ์ 5  คือ รู้ชัดในกามฉันท์ พยาบาท เฉื่อยชา ฟุ้งซ่าน ลังเล ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ให้รู้ชัดตามที่เป็นไปในขณะนั้น
 2) ขันธ์ 5  คือกำหนดรู้ว่าขันธ์ 5 แต่ละอย่างๆ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร (ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ)
 3) อายตนะ  คือรู้ชัดในอายตนะการสัมผัสของประสาททั้ง 5 ว่าตาเห็นอะไร หูได้ยินอะไร เป็นสิ่งใดแน่ เป็นต้น
4) โพชฌงค์ 7  คือรู้ชัดในขณะนั้นๆว่า สติ ธรรม วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา มีปรากฏอยู่ในใจตนหรือไม่ ถ้ายังไม่ปรากฏ จะปรากฏได้อย่างไร ที่ปรากฏแล้ว เจริญบริบูรณ์หรือไม่
5) อริยสัจ  คือรู้ชัดในทุกข์ที่เกิด ว่าเกิดจากอะไร มีเหตุอย่างไร และจะดับได้ด้วยมรรคใด

 การนำวิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้คุณภาพชีวิต และสังคม

ผู้ที่ผ่านการบริหารจิตและเจริญปัญญามาเป็นอย่างดีจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ดีงามขึ้นได้หลายด้าน คือ

1. การเรียนรู้
1. ทำให้มีสมาธิมั่นคง มีความทรงจำแม่นยำ แจ่มชัด ไม่พร่าไม่เลือนง่าย
2. ทำให้จับประเด็นของเรื่องที่เรียนได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
3. ทำให้เข้าใจเรื่องราวที่ลึกซึ้งได้มากกว่าและดีกว่าคนทั่วไปเช่น เรื่องหนึ่งคนทั่วไปมองเห็นเพียงแง่เดียวแต่คนที่ฝึกจิตมาดีมองเห็นนับได้เป็น ๑๐ นัย
4. ทำให้คนลดอหังการ มมังการ เป็นคนใจกว้าง มีความหลงตัวเองน้อยพร้อมที่จะเรียนรู้จากบุคคลอื่นได้ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าจะกลายเป็นบุคคลเรียนรู้ได้จากทุกคน จากทุกสิ่งและจากทุกปรารกฏการณ์

   2. คุณภาพชีวิต
1. คนที่ฝึกจิตแล้ว จิตจะมีลักษณะมีพลัง สงบ แจ่มใส นุ่มนวลควรแก่งาน
2. อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
3. ได้ญาณทัศน์ คือ ความสามรถพิเศษ เช่น มีฤทธิ์ มีตาทิพย์ หูทิพย์ฯลฯ
4. ทำให้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
5. ทำให้กำจัดกิเลสอาสวะได้อย่างสิ้นเชิง

  3. สังคม

1. เป็นคนมีศีล ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อใครๆ ในสังคมสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุข
2.เป็นคนมีสมาธิ ทำให้มีสุขภาพจิตสมบูรณ์สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นแบบอย่างหรือประจักษ์พยานให้คนในสังคมเห็นว่าคนที่มีสุขภาพจิตดีนั้น ชีวิตจะมีแต่ความราบรื่น สงบเย็น และเป็นสุข
3. เป็นคนมีปัญญา ทำให้ทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าของสังคมเป็นที่พึ่งของตนได้ เป็นที่พึ่งของสังคมและประเทศชาติได้ร่วมเป็นพลังสำคัญในการสร้างสรรค์พัฒนาประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่องค์กรไหน หรือทำงานที่ไหน ก็ทำให้องค์กรนั้นๆมีความเจริญก้าวหน้า เป็นต้น

2. การเจริญปัญญาตามหลักโยนิโสมนสิการ

พระพุทธเจ้า ตรัสสอนให้เรารู้จักคิด การรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์อย่างรอบด้าน ทำให้เกิดปัญญา จนแตกฉาน เรียกว่า  “โยนิโสมนสิการ”  โยนิโส แปลว่า ถูกต้องแยบคาย มนสิการ (มะนะสิกาน)  การกําหนดไว้ในใจ  แปลว่า ทำไว้ในใจ

โยนิโสมนสิการ หมายถึง การทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือการคิดถูกต้องตามความเป็นจริง มีไวพจน์อีก 4 คำ  ที่โยงเข้ากับโยนิโสมนสิการ คือ อุบายมนสิการ  ปถมนสิการ  การณมนสิการ อุปปาทกมนสิการ โดยอาศัยการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและคิดเชื่อมโยงตีความข้อมูลเพื่อนำไปใช้ต่อไป

1. อุบายมนสิการ เป็น การคิดหรือพิจารณาโดยอุบาย คือ การคิดอย่างมีวิธีหรือถูกวิธี ซึ่งหมายถึง การเข้าถึงความจริง สอดคล้องกับแนวสัจจะ ซึ่งทำให้รู้สภาวลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย

2. ปถมนสิการ เป็น การคิดถูกทาง ต่อเนื่องเป็นลำดับ หมายถึง ความคิดที่เป็นระเบียบตามหลักเหตุผล ไม่ยุ่งเหยิงสับสน จิตไม่แว็บติดพันในเรื่องนี้ แต่เดี๋ยวกลับเตลิดไปคิดอีกเรื่องหนึ่ง จิตยุ่งเหยิงนี้กระโดดไปมา ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน แต่รวมทั้งความสามารถในการชักความนึกคิดไปสู้แนวทางที่ถูกต้อง

  3. การณมนสิการ เป็น การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นการสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องตามลำดับ

 4. อุปปาทกมนสิการ การคิดการพิจารณาให้เกิดกุศลธรรม(กรรมดี) เช่น การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เป็นต้น

ไขความทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่างๆ ของความคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งการเกิดในแต่ละครั้ง อาจมีลักษณะครบทั้ง 4 ข้อ หรือเกิดครบทั้งหมด หรือเขียนลักษณะทั้ง 4 ข้อนี้สั้นๆ ได้ว่า คิดถูกวิธี   คิดมีระเบียบ   คิดมีเหตุผล   คิดเร้ากุศล

โยนิโสมนสิการ การรู้จักคิดหรือคิดเป็นจึงเป็นทางเกิดปัญญา พระพุทธเจ้าได้แสดงโยนิโสมนสิการไว้ 10 วิธีด้วยกัน ในที่นี้ขอนำมากล่าวเพียง 2 วิธี คือ การคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ และการคิดแบบวิภัชชวาท

 2.1 การคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ

การคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ คือ แยกพิจารณาเป็นส่วนๆ เพื่อหาความสอดคล้องสัมพันธ์กันเป็นองค์รวมหรือระบบ หรือ ผล หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น หรือ ปัญหาที่พบ ว่าองค์ประกอบใดเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลหรือปัญหา การคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบนี้มีความสำคัญมากเพราะถ้าฝึกคิดอยู่เป็นประจำ จะช่วยให้เกิดความชำนาญ ความเข้าใจและสามารถแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี สามรถนำมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาชีวิตได้

 2.2  การคิดแบบวิภัชชวาท

การคิดแบบนี้ประโยชน์มากในการที่จะตัดสินปัญหาอะไร มองปัญหารอบด้าน เป็นสามัญจักษุ ไม่มองปัญหาด้านเดียว พอมีปัญหาอะไรก็จะแยกแยะประเด็นออกไปแล้วค่อยวิเคราะห์ไปทีละประเด็น แล้วก็หาคำตอบให้ได้ว่าประเด็นนั้นควรจะเป็นอย่างไร ประเด็นนี้ควรจะเป็นอย่างไร คือว่าไม่ตัดสินเด็ดขาดลงไป คือปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น มันจะมีที่มา สะสมมา ก่อตัวมาเป็นลำดับๆ

 738299vt6qv1ppxh

 พระพุทธศาสนากับการแก้ไขและการพัฒนา

1. สภาพปัญหาในชุมชนและสังคมไทย

สภาพปัญหาเยาวชนไทยยุคโลกาภิวัตน์ทั้งหลายทั้งปวงมาจากความสับสนวุ่นวายทางจิตใจ จิตใจเยาวชน ไม่มั่นคง ไม่มีอะไรเป็นเครื่องยึดมั่น องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง เช่นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีนโยบายในการแก้ปัญหาก็จริง แต่ขาดการปฏิบัติต่อเนื่อง และจริงจัง

ดังนั้นองค์กรทางศาสนา หลักธรรมคำสอน และพระสงฆ์เท่านั้น จะเป็นผู้สร้าง ผู้ชี้ทางและเป็นผู้นำทางทางจิตใจของเยาวชนไทย เป็นผู้อธิบายค่านิยมที่ถูกต้อง ผู้อธิบาย ความดี ความชั่ว ความจริงของโลกและความสุขอันแท้จริงของชีวิต เป็นผู้ชี้นำความสว่าง ความสงบ ทั้งแก่เยาวชน และแก่คนไทยทุกคนให้พบแต่ความสุขความเจริญ แต่นั่นก็หมายถึงว่า พระสงฆ์เองก็ต้องพัฒนาตนเอง ให้อยู่ในสภาวะที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคม แก้ปัญหาสังคม ไม่เป็นปัญหาสังคมเสียเอง

ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบันมีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้จะนำมากล่าวเฉพาะที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
1.1 ปัญหายาเสพติด

images

ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2465 ให้ความหมายว่า ยาต่าง ๆที่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศเป็นยาเสพติดให้โทษตามบัญชีที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยเห็นว่าอาจทำให้ผู้เสพติดแล้วให้โทษแก่ผู้บริโภค

1 ทำให้เกิดความต้องการอย่างแรงกล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ

2. ผู้เสพต้องตกเป็นทาสของยาเสพติดจะหยุดเสพมิได้

3. ผู้เสพต้องเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นอันตรายต่อร่างกาย

สาเหตุของการเสพยาเสพติด

1. เกิดจากจิตใจ

2. เกิดจากร่างกายที่เจ็บป่วย

3. เกิดจากความคึกคะนอง อยากรู้อยากเห็น อวดดี อยากทดลอง

4. ติดเพราะยาซึ่งมีคุณสมบัติทำให้ติด

5. ติดเพราะสิ่งแวดล้อม อยู่ใกล้กับพวกเสพติด

6. เกิดจากถูกชักชวน

7. เกิดจากสภาพแวดล้อมที่ผลักเยาวชนไปสู่ยาเสพติด

8. เกิดจากการว่างงานไม่มีอะไรทำเป็นสาระก่อให้เกิดความกลัดกลุ้ม

  ผลของยาเสพติดให้โทษ

1. โทษร่างกาายและจิตใจยาเสพติดทถกประเภทก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อร่างกายและจิตใจ

2. โทษต่อครอบครัว ทำให้เศรษฐกิจในครอบครัวตกต่ำจนถึงหายนะได้

3. โทษต่อสังคม เช่น เกิดการลักขโมย ปล้นจี้

4. โทษต่อประเทศชาติ มีผลกระทำต่อเศรษฐกิจ ถ่วงความเจริญของประเทศการป้องกันและการรักษา

 การปัองกันจำแนกออกเป็น

1. การป้องกันตนเอง

2. ป้องกันทางครอบครัว

3. ป้องกันทางเพื่อนบ้าน

4. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ

5. ป้องกันโดยการให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนทั่วไป

6. ป้องกันการผลิต

7. การปราบปรามและการลงโทษอย่างรุนแรง แก่ผู้กระทำผิด

1.2 ปัญหาอาชญากรรม

paranoid
ในสังคมปัจจุบัน การเกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรมเกิดขึ้นมาก ทำให้ต้องมีกฎหมายใช้เป็นกฎบังคับเพื่อไม่ให้มีการกระทำความผิด หากบุคคลใดได้กระทำความผิดตามกฎหมายบัญญัติต้องรับโทษตามกฎหมายที่บัญญัติ ไว้ ดังนั้นกฎหมายซึ่งเป็นหัวใจหลักให้บุคคลได้ตระหนักถึงโทษที่จะได้รับ
มาตรา 18 โทษสำหรับลงแต่ผู้กระทำความผิด จะมีการเรียงลำดับหนักเบาของแต่ละโทษคือ โทษประหารชีวิตจะเป็นโทษที่เป็นโทษที่หนักที่สุดเพราะทำให้นักโทษถึงแก่ ชีวิต จำคุกเป็นโทษรองลงมาเพราะนักโทษจะไม่ได้รับอิสรภาพ การกักขังจะเบากว่าการจำคุกเพราะสถานที่การกักขังของการจำคุกจะมีกฎกติกา มากกว่า ส่วนโทษปรับและริบทรัพย์สินถือว่าปรับเป็นโทษที่หนักกว่าเพราะโทษของการปรับ เงินที่ได้มา มาโดยสุจริต แต่โทษริบทรัพย์สินได้มาโดยการกระทำที่ผิดกฎหมาย

ในกรณีผู้กระทำความผิดมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีได้กระทำความผิด โดยโทษที่ต้องรับคือโทษประหารชีวิต ให้ถือว่าระวางโดยดังกล่าวเปลี่ยนมาเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปี
ตัวอย่าง เด็กชาย แมงมุมกับพวก อายุประมาณ 16 – 17 ปี ได้ค้ายาบ้ารายใหญ่ในซอยดินแดง วันหนึ่งตำรวจได้วางแผนจับกุมกลุ่มของเด็กชาย แมงมุมกับพวกคือสั่งซื้อยาบ้า 5,000 เม็ด เมื่อตำรวจล่อเด็กชาย แมงมุมกับพวกเพื่อซื้อยาบ้าตามที่นัดหมายและได้ทำการซื้อขายยาบ้าจำนวน 5,000 เม็ดในขณะเดียวกันตำรวจที่ปลอมมา ได้แสดงตัวเป็นตำรวจเพื่อเข้าจับกุม แต่ขณะเดียวกันเมื่อเด็กชาย แมงมุมรู้ตัวก็ได้ใช้ปืนยิงตำรวจที่จะเข้ามาจับจนเสียชีวิต ในขณะที่เด็กชาย แมงมุมกับพวกหนีจากการไล่ล่าของตำรวจเด็กชายแมงมุมกับพวกได้ยิงประชาชนที่ อยู่ในบริเวณดังกล่าวจนถึงแก่ชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก

ในกรณีนี้เด็กชายแมงมุมกับพวกต้องรับโทษประหารชีวิตเพราะได้กระทำความผิดข้อ หา ค้ายาบ้าซึ่งเป็นสิ่งเสพติดประเภทที่ 1 เป็นจำนวนมากและได้ยิงตำรวจจนเสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่และทำให้ผู้อื่น เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ
ดังนั้น ตามมาตรา 18 โทษประหารชีวิตในกรณีการกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีได้กระทำ ความผิดจากโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตให้เปลี่ยนเป็นโทษจำคุกห้าปี

1.3 ปัญหาการทุจริต

20131122152551

ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมมนุษย์มาเป็นเวลานาน   ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา จะมีความแตกต่างกันที่ความรุนแรงของปัญหาว่ามีมากน้อยเพียงใด การทุจริตคอร์รัปชันได้ส่งผลให้สังคมไทยเกิดปัญหาความยากจน   การกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม มีความเหลื่อมล้ำในสังคม  บั่นทอนความมั่นคง ความสงบสุข และมีผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาประเทศในทุกระดับ  ซึ่งจากการจัดอันดับดัชนี  ภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ  ( Transparency  International )  พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน  เป็นลำดับที่  61  ของโลก  ซึ่งอยู่ในลำดับต้นๆ ของเอเชีย และมี แนวโน้มจะทวีความรุนแรงโดยมีจำนวนเม็ดเงินที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้นและมี ลักษณะการกระทำเป็นกระบวนการที่  ซับซ้อนและยากแก่การติดตามตรวจสอบ  หากไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังแล้ว   การทุจริตคอร์รัปชันจะกัดกร่อนเศรษฐกิจ และสังคมไทยจนยากแก่การแก้ไขได้ในระยะยาว

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ได้ตระหนักถึงภัยอันเกิดจากปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน จึงได้ติดตามปัญหา  รวมทั้งส่งเสริมให้เครือข่ายภาคประชาชนให้ความสนใจและเอาใจใส่ต่อปัญหาการ คอร์รัปชันที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง  เพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจของสังคมไทยต่อรูปแบบและวิธีการคอร์รัปชัน ที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชนกับองค์กรภาคประชาชน   และสร้างความเข้มแข็งให้แก่กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน

 1.4 ปัญหาการขาดวินัย 

images

แม้ว่าการขาดวินัย จะไม่ใช่ปัญาหาใหญ่ของสังคมเหมือนกับปัญหาต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ชุมชนและสังคมที่ผู้ขาดวินัยย่อมพัฒนาไปอย่างลำบาก ความมีวินัยคือ การปฏิบัติตามกฏหมาย กฏระเบียบ แบบแผน หากคนในสังคมไร้วินัย ความระส่ำระส่ายจะเกิดขึ้น ความมั่นคงจะน้อยลง การมีวินัยมีได้หลายระดับ เริ่มจากการมีวินัยกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน และสังคมโดยส่วนรวม

ในสังคมไทย การขาดวินัยเป็นเรื่องที่พบเห็นอยู่เป็นประจำในชีวิตประจำวัน เช่น ขับรถผ่าไฟแดง  ซึ่งเป็นการเอาเปรียบและไม่มีมารยาทในการขับรถ การไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์นี้ในบางครั้งก่อให้เกิดความสูญเสียให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินได้

แนวทางการแก้ไขปัญหาควรเริ่มจากการกำหนดกฏระเบียบ ข้อบังคับ ให้มีความรัดกุม และปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน ผู้ใหญ่ควรเป็นต้นแบบให้เยาวชนได้เห็นเป็นแบบอย่าง

2. ธรรมะกับการแก้ปัญหา

ประเทศไทยนั้นเป็นสังคมหนึ่งซึ่งยอมรับพระพุทธศาสนา และได้รับการหล่อหลอมจากหลักธรรม  คำสอนในพระพุทธศาสนามายาวนาน วิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ตั้งแต่กำเนิดจนถึงตาย จึงเกี่ยวโยงสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระพุทธศาสนา แต่เมื่อสังคมโลกเปิดกว้างขึ้นทั้งในด้านสื่อสารมวลชน เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่นำพาให้สังคมไทยก้าวเข้าไปสู่กระแสแห่งยุคโลกาภิวัฒน์      ส่งผลให้สังคมไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติในหลายๆ ด้านพระพุทธศาสนา จึงเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะสามารถนำหลักการสำคัญที่มีอยู่ในพระไตรปิฏกมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในแบบองค์รวม  เพื่อจะทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างครบวงจร อันจะส่งผลดีกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติต่างๆ ของสังคมไทยต่อไป

วิกฤติต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนโยงใยถึงกันเป็นลูกโซ่ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นในด้านใดด้านหนึ่งของสังคมนั้นหมายถึงว่า ผลพวงจากวิกฤตินั้นย่อมกระทบต่อระบบในสังคมนั้นด้วย เช่น บ้านเมืองปัจจุบันเกิดภาวะวิกฤติ เพราะเป็นผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจทรุดตัว นักการเมือง บุคคลในสังคมหวังเพื่อจะกอบโกยผลประโยชน์เป็นส่วนตัวมากขึ้น ประชาชนอดอยากมากขึ้น จึงเป็นภาวะวิกฤติทางสังคมเมื่อบุคคลในสังคมมีมากขึ้นความเห็นแก่ตัวมากขึ้น  สภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวจึงไม่มีคนเอาใจใส่ดูแลจนเกิดเป็นภาวะวิกฤติทางสิ่งแวดล้อม  ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยจะต้องนำกระบวนทัศน์ทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ในขณะนี้

  2.1 พรมวิหาร 4

       พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

เมตตา        ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข

กรุณา         ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

มุทิตา        ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี

อุเบกขา     การรู้จักวางเฉย

คำอธิบายพรหมวิหาร 4
 1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
– ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์
– ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า “ดี” ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
  4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

 2.2 อิทธิบาท 4

คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

  2.3 สันโดษ 3

มาจากภาษาบาลีว่า สันโตสะ สัน แปลว่า ตน โตสะ แปลว่า ยินดี สันโดษจึงแปลว่า ยินดี พอใจ อิ่มใจ สุขใจ กับของของตน กล่าวโดยย่อคือ ให้รู้จักพอ ให้รู้จักประมาณตน ลักษณะของสันโดษ 3 ประการ คือ

1) ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามมี
2) ยถาพลสันโดษ ยินดีตามได้
3) ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามควร

เมื่อเราเข้าใจกฎแห่งกรรม ยอมรับกฎแห่งกรรมด้วยปัญญาชอบ แล้วก็จะพอใจในสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ ตามฐานะของตนในปัจจุบัน ยอมรับว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน สมบูรณ์แล้วด้วยเหตุผล

อดีต…………เป็น…………เหตุ
ปัจจุบัน…….เป็น…………ผล………มันเป็นกรรมเก่า

พระพุทธเจ้าตรัสว่า กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ร่างกายจิตใจของเรา รวมทั้งสิ่งที่เป็นที่พึ่งที่อาศัยของกาย เช่น พ่อแม่ พี่น้อง สามีภรรยา ลูก ๆ บุคคลต่าง ๆ ตลอดจนทรัพย์สมบัติ สถานที่ บ้าน สังคม ประเทศชาติ ที่เราต้องไปเกี่ยวข้อง ล้วนเป็นกรรมเก่า

2.4 ฆราวาสธรรม 4

 

   1. สัจจะ คือการเป็นคนจริง ในที่นี้จะนำเสนอสองนัยยะ

นัยยะแรกคือ เมื่อตั้งใจอะไรไว้แล้ว ก็จริงต่อเป้าหมายนั้นไม่ท้อถ่อยต่อเป้าหมายนั้น เพราะงานทุกอย่างในโลกนี้ทั้งงานใหญ่ งานเล็ก ล้วนต้องเจออุปสรรคด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งอุปสรรคภายในคือใจของเราเอง หรืออุปสรรคภายนอก เงื่อนไข สิ่งแวดล้อม ผู้คนรอบตัวก็ตาม ดังนั้นจะประสบความสำเร็จได้ “เราต้องจริง” เมื่อเจออุปสรรคก็ไม่หยุด แต่จงเดินหน้าต่อไปจนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

 

นัยยะที่สองคือเป็นคนที่รักษาคำพูด พูดคำไหนคำนั้น เชื่อถือได้ เหมือนดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ตถาคต พูดอย่างไรทำอย่างนั้น ทำอย่างไรพูดอย่างนั้น” ถ้าทำได้อย่างนี้ เราจะเป็นคนที่น่าเชื่อถือ ส่งผลให้ชีวิตเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป

 2. ทมะ คือการฝึกตัวเอง เมื่อเราตั้งใจอะไรไว้แล้วก็ต้องฝึกตัวเองให้เพิ่มพูนตลอดเวลา เพื่อจะได้สามารถทำไปถึงเป้าหมายได้สำเร็จสมความตั้งใจ ตอนเริ่มต้นอาจจะไม่ได้เก่ง แต่มุ่งตรงต่อเป้าหมายนั้น แล้วฝึกตัวเองพัฒนาศักยภาพ ขอเพียงอย่าหยุดการฝึกตัวเอง ฝึกไปจนตลอดชีวิตของเราเลย สุดท้ายความสำเร็จจะเป็นของเรา

     3. ขันติ คือความอดทน ความอดทนในที่นี้มีสี่ระดับ

1. อดทนต่อความลำบากตรากตรำ
2. อดทนต่อทุกขเวทนา
3. อดทนต่อการกระทบกระทั่ง
4. อดทนต่อสิ่งที่เย้ายวนใจ หรือกิเลสซึ่งทนได้ยาก

    4. จาคะ คือความเสียสละ ทั้งสละวัตถุสิ่งของ มีน้ำใจช่วยเหลือคนอื่น และสละอารมณ์ ไม่เก็บอารมณ์ขุ่นมัวไว้ในใจ ทำให้ใจเราผ่องแผ่วอยู่เรื่อยๆ คนเราจะประสบความสำเร็จได้ต้องรู้จักจาคะ ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลคนอื่นด้วย คนไหนที่เริ่มเติบโตในหน้าที่การงานแล้ว มีน้ำใจต่อผู้ร่วมงานรอบข้างไม่โตเดี่ยว ดึงคนอื่นขึ้นมาด้วยเป็นกลุ่ม ก็จะสามารถรับมือกับอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคง

ผู้นำฆราวาสธรรม 4 ไปใช้ แม้อยู่ครองเรือนก็จะเป็นฆราวาส คฤหัสถ์ที่มีความสุขความสำเร็จในชีวิต หากเป็นนักบวชก็จะได้รับผลแห่งการปฏิบัติบำเพ็ญสมณธรรมด้วยสิ่งที่ตั้งใจ ปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรม ทั้ง 4 ประการนี้

 2.5 มิตรแท้ 4

1 มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน 4 คือ
1.1 รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
1.2 รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
1.3 เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้
1.4 เมื่อกิจที่จำต้องทำเกิดขึ้นเพิ่มทรัพย์ให้สองเท่า [เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก]

    2 มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน 4 คือ
2.1 บอกความลับ [ของตน] แก่เพื่อน
2.2 ปิดความลับของเพื่อน
2.3 ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย
2.4 แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้

3 มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน 4 คือ
3.1 ห้ามจากความชั่ว
3.2 ให้ตั้งอยู่ในความดี
3.3 ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
3.4 บอกทางสวรรค์ให้

   4 มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน 4 คือ
4.1 ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน
4.2 ยินดีด้วยความเจริญของเพื่อน
4.3 ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน
4.4 สรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน

 

3. แนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม

 3.1 การเข้าค่ายพุทธบุตร

การเข้า ค่ายพุทธบุตร หรือ ค่ายพุทธธรรม เป็นกิจกรรมของเยาวชนในโครงการการอบรมคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักพัฒนาชีวิตและสังคม คือ บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) โดยพระสงฆ์วิทยากรผู้ทรงความรู้จะฝึกฝนเยาวชนให้มีทักษะชีวิตตามคำสอนและวัตรปฏิบัติของพระพุทธเจ้า

สถานที่จัดค่ายพุทธบุตรหรือค่ายพุทธธรรมขึ้นอยู่กับความสะดวก ซึ่งอาจเป็นวัด สถานศึกษา หรือค่ายฝึกอบรม ส่วนหลักสูตรการฝึกอบรมจะเน้นการศึกษาธรรมะและฝึกปฏิบัติธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือ ให้ทานรักษาศีลและเจริญภาวนา ระยะเวลาการปฏิบัติธรรมอาจเป็น 3-15 วัน ตามความเหมาะสม

ประโยชน์ของการเข้าค่ายพุทธบุตร มีดังนี้

1.  เสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจให้เยาวชน โดยการฝึกบำเพ็ญทางจิตภาวนา

2. ปลูกฝังจริยธรรมให้เยาวชนมีเจตคติที่ดีต่อพระพุทธศาสนา

3.  ให้เยาวชนได้เรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ด้วยการฝึกการใช้ชีวิตอย่างผู้ถือเพศพรหมจรรย์ ด้วยการรักษาศีล 8

4.ได้พัฒนาจิตสำนึกที่ดีงาม สำหรับการพัฒนาตนและสังคม

5. ฝึกทักษะความรับผิดชอบทั้งต่อ ตนเอง สังคม และประเทศชาติ

 3.2 การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

พิธีกรรม  คือ  ระเบียบแบบแผนที่เป็นแบบอย่าง มีระบบ ขั้นตอน ปฏิบัติสืบทอดกันมา  พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา  หมายถึง  พิธีกรรมที่ชาวพุทธปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ มี 2  อย่าง คือ  พิธีกรรมที่เกี่ยวกับพระสงฆ์โดยตรงซึ่งถือว่าเป็นพุทธบัญญัติ  และพิธีกรรมที่เป็นกิจของฆราวาส ที่ได้รับการสืบทอดมาจากพุทธศาสนา  พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์  ได้แก่  พิธีอุปสมบท  พิธีกรรมการรับกฐิน  พิธีกรรมการเข้าพรรษา และการปวารณาออกพรรษา เป็นต้น ส่วนพิธีกรรมที่เป็นกิจของฆราวาสนั้น  เป็นเรื่องพิธีที่ชาวพุทธควรปฏิบัติ  ที่เรียกว่าบุญพิธี และทานพิธี  ได้แก่
  1.  พิธีกรรมวันสำคัญต่างๆ  ได้แก่  วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา  วันออกออกพรรษา
   2.  พิธีกรรมการการทำบุญมงคลต่างๆ  เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่  ทำบุญวันเกิด  ทำบุญวันแต่งงาน  ทำบุญถวายสังฆทาน ฯลฯ
3.   พิธีกรรมเกี่ยวกับงานอวมงคลต่างๆ เช่น ทำบุญงานศพ ทำบุญครบรอบวันตาย ทำบุญอุทิศต่างๆ  เป็นต้น

 ประโยชน์ของการเข้าร่วมพิธีกรรม
การเข้าร่วมพิธีกรรมถือว่าเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคน ก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้.-
1.     เป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
2.     เป็นการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีของพระพุทธศาสนา
3.     เป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมไทย
4.     เป็นการสร้างความสามัคคีแก่ส่วนรวม
5.     เป็นการสร้างบุญกุศลให้แก่ตนเอง
6.     เป็นการสร้างปัญญา ทำให้เกิดความสงบ เข้าถึงธรรม
7.     เป็นการสร้างระเบียบวินัยให้แก่ตนเอง
8.     เป็นโอกาสที่จะได้ฟังธรรมะจากพระสงฆ์ร่วมกัน

 การปฏิบัติตนในการเข้าร่วมพิธีกรรม
การเข้าร่วมศาสนพิธีไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืองานอวมงคล  ทุกคนต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามประเพณีนิยมของสังคมพุทธ  ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติขณะเข้าร่วมพิธีกรรม ดังนี้
1.     ต้องแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์  เช่น  กราบ หรือไหว้
2.     ต้องแสดงความเคารพต่อสถานที่ เช่น กราบพระประธานในอุโบสถหรือพระพุทธรูปที่ต่างๆ
3.     ต้องแต่งกายให้เรียบร้อย
4.     อยู่ในอาการสำรวม ระมัดระวังกิริยามารยาท
5.     ควรนั่งให้เรียบร้อย ให้เหมาะสมกับเพศและวัย
6.     ไม่ควรพูดคุย หรือซุบซิบกัน  ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
7.     ไม่ควรนำอาหารไปรับประทาน
8.     ไม่ควรเสพสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่  สุรา ฯลฯ

4. การสัมมนาและเสนอแนะแนวทางในการธำรงรักษาพระพุทธศาสนา

 การสัมมนา  คือการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น  เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  โดยใช้หลักการ วิธีการ หรือกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ในชั้นนี้ เป็นการจัดสัมมนาพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาและการพัฒนา  โดยเน้นไปที่การพัฒนาสังคมและการจัดระเบียบสังคม  โดยใช้หลักการ วิธีการ  หรือกระบวนการทางพระพุทธศาสนา  ผลที่ได้จากการสัมมนาสามารถนำไปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต และสังคมได้

เนื่องจากกิจกรรมนี้  มีความหลากหลายนักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ แล้วเก็บข้อมูลนำมาวิเคราะห์ สรุปผลการอภิปราย บอกแนวทางการปฏิบัติและประโยชน์ที่จะได้รับจากการสัมมนา ในการจัดสัมมนาในระดับชั้นนี้ ขอยกขัวข้อประเด็นสำคัญเพื่อเป็ฯแนวทางในการจัดสัมมนา ดังนี้

พุทธศาสนากับการพัฒนาแบบยั่งยืนในสังคมไทย
ในการพัฒนาแบบยั่งยืนในสังคมไทย ตามแนวทางพุทธศาสนานั้น จะเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก ในการพัฒนาคนนั้น สิ่งสำคัญของการพัฒนาคือ ปัญญา เพราะทำให้รู้จักสิ่งทั้งหลายและรู้ว่าจะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไร การพัฒนาจะเป็นไปพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน คือ
1.   พัฒนาพฤติกรรม(ศีล) หรือวิธีการใช้ชีวิต ตลอดจนการทำมาหาเลี้ยงชีพ ในการพัฒนาด้านนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาคนให้มีศีล คือ วินัย เพราะวินัย เป็นตัวการจัดเตรียมชีวิตให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อการพัฒนา
2.   พัฒนาด้านจิตใจ(สมาธิ) เช่นพัฒนาคุณธรรม ความเข้มแข็ง มั่นคงของจิตใจและสภาพจิตที่ดีงาม รวมทั้งความสุข
3.   พัฒนาด้านปัญญา(ปัญญา) คือความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ รวมทั้งแนวความคิด ทัศนคติ และค่านิยม ในการฝึกฝนหรือพัฒนาด้านความรู้ ความเข้าใจ ทำได้โดยรู้จักวินิจฉัย ไตรตรอง ตรวจสอบโดยอาศัยเหตุผล เพื่อให้เข้าใจความเป้นจริงที่เป็นสากลของสิ่งทั้งปวง
การพัฒนาทั้ง 3 ด้านนี้จะต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งหากพัฒนาได้ทั้งสามด้านแล้วจะทำให้ชีวิตมีแต่ความดีงาม ซึ่งจะนำปสู่การเข้าถึงอิสรภาพและสันติสุขที่แท้จริง การพัฒนาหรือการฝึกฝนทั้ง 3 ด้านนี้ เราเรียกว่า ไตรสิกขา ซึ่งประกอบไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นเอง

5. การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาของพุทธบริษัทในสังคมไทย

พระพุทธศาสนา นั้นมีพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ทรงบัญญัติไว้แล้วแก่พุทธบริษัททั้งหลาย เป็นศาสดาแทนองค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาจะเจริญหรือเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับพุทธบริษัททั้ง ๔ เป็นประการสำคัญ หากพุทธบริษัทยังประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ทรงบัญญัติไว้แล้ว พระพุทธศาสนาก็จะไม่เสื่อมสลายไปจากโลกนี้

องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีคุณูปการอันใหญ่หลวงในทางจิตวิญญาณต่อมวลมนุษยชาติ ตลอดช่วงระยะเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปี และสืบต่อไปในอนาคต ปัจจุบันประเทศไทยได้รับการยอมรับจากผู้นำชาวพุทธทั่วโลกให้พุทธมณฑล เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๗๓ บัญญัตว่า รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา ฯ ซึ่งสถาบันพระพุทธศาสนา มีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ที่รัฐจะต้องให้ความอุปถัมภ์คุ้มครอง ๔ ด้านด้วยกัน คือ

๑. ด้านศาสนบุคคล ได้แก่ พุทธบริษัททั้ง ๔ ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา
๒. ด้านศาสนวัตถุ ได้แก่ ถาวรวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา อาทิ พระพุทธรูป สถูป โบสถ์ วิหาร พระเจดีย์ ที่เคารพสักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
๓. ศาสนธรรม ได้แก่ พระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติไว้แล้วแก่พุทธบริษัททั้งหลาย จำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ประกอบด้วย พระวินัย ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสูตร ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระอภิธรรม ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมเรียกว่าพระไตรปิฎก
 ๔. ศาสนพิธี ได้แก่ พิธีกรรมที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย พิธีบำเพ็ญกุศล พิธีทำบุญ พิธีถวายทานและพิธีอื่น ๆ ทั่วไป

ในสภาพปัจจุบันนี้ กระแสวัตถุนิยมรุนแรงส่งผลให้ค่านิยมทางด้านจิตใจถูกละเลยไป องค์ประกอบสำคัญทั้งในด้านศาสนบุคล ศาสนวัตถุ ศาสนธรรมและศาสนพิธี กำลังมีปัญหาทั้งภัยภายในและภัยภายนอกอยู่รอบด้าน เนื่องจากชาวพุทธบางคนละเลยการประพฤติปฏิบัติในศีลธรรม ไม่เว้นแม้ผู้ที่เข้ามาบวชในศาสนาบางคนเมื่อบวชแล้วไม่สนใจศึกษาและปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัย อาศัยช่องทางจากความเชื่อความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยของชาวพุทธแสวงหา ประโยชน์โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น แสวงหาลาภสักการะโดยยืนปักหลักรับบิณฑบาตและเรี่ยไรเงินทองเพื่อประโยชน์ตน เอง บางครั้งตั้งตนเป็นหมอดูทำนายทายทัก บอกใบ้ให้หวย เป็นหมอยา หมอเสน่ห์หลอกลวงให้ประชาชนหลงผิด ปฏิบัติผิด และยิ่งกว่านั้นชาวพุทธบางคนถึงขนาดปลอมบวชเป็นพระภิกษุสามเณร แล้วใช้อุบายหลอกลวงที่แยบยล จนกลายเป็นข่าวตามสื่อมวลชนอยู่บ่อยครั้ง สร้างความเสียหายต่อสถาบันพระพุทธศาสนาโดยส่วนรวม ยากที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว

6. การปลูกจิตสํานึกและการมีส่วนร่วมในสังคมพุทธ

การปลูกจิตสำนึก พระ ธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงการปลุกจิตสำนึกของสังคมพุทธ ความว่า ตามหลักพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนจะต้องมองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง โดยมีคำอธิบายดังต่อไปนี้

  1. มองกว้าง พระพุทธศาสนาสอนให้เรา มองกว้าง กล่าวคือไม่ให้มองแค่ตัวเอง ไม่ให้มองแค่สังคมของเรา แต่ให้มองทั้งโลก ให้มีปัญญามองเห็นระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยในสรรพสิ่ง ในธรรมชาติทั้งหมด เรามองว่าธรรมชาติทั้งหมดนี้เป็นระบบแห่งปัจจัยสัมพันธ์ สิ่งทั้งหลายในจักรวาลนี้มีความสัมพันธ์ พึ่งพาอิงอาศัยและส่งผลกระทบต่อกันทั้งสิ้น และให้มีเมตตากรุณาดำเนินชีวิตและบำเพ็ญกิจต่างๆ

มองกว้าง นั้น ถ้ายังมองออกไปไม่ถึงทั้งโลกหรือถึงอารยธรรมของมนุษยชาติ ก็ขอให้มีจิตสำนึกทางสังคม ในระดับประเทศชาติของตัวเองก่อน เป็นการค่อยๆ ฝึก ค่อยๆ พัฒนากันไป ขยายทัศนะออกไป ไม่ใช่มองอยู่แค่ตัวเองและผลประโยชน์ของตัวหรือเอาแต่กลุ่มแต่พวกของตัวแล้ว ก็กระทบกันไป กระแทกกันมา อยู่แค่นั้น จิตสำนึกทางสังคมนั้น ตอนแรกเอาแค่ให้มีความรักบ้านเมือง มีความซาบซึ้งภูมิใจในความดีงามของชุมชนหรือสังคมของตน ซึ่งจะแสดงออกมาในจิตใจ เช่น เมื่อเห็นคนต่างประเทศเข้ามาในบ้านเมืองของตน ก็คิดนึกว่า ถ้าคนต่างชาติเหล่านั้นเดินทางไปในประเทศของเรา ได้เห็นความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาด ทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามในบ้านเมืองของเรา และประชาชนที่อยู่ดีมีสุขมีน้ำใจ เขาก็คงจะชื่นชม

แม้ แต่ไม่เห็นคนต่างชาติเหล่านั้น แต่ตนเองเดินทางไปในบ้านเมืองของตัว มองเห็นความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาด ทัศนียภาพในธรรมชาติแวดล้อมที่ยังคงอยู่ในสภาพอันดี และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี แล้วเกิดความรู้สึกชื่นใจ อยากให้คนต่างบ้านต่างเมืองมาเห็น และนึกว่าถ้าเขามาเห็นแล้ว เขาก็จะชื่นชม เมื่อนึกไปและทำให้เป็นไปจริงได้อย่างนี้แล้ว ก็เกิดความปีติ เอิบอิ่มปลาบปลื้มใจ ภูมิใจในประเทศชาติบ้านเมือง ความรู้สึกนึกคิดอย่างนี้ ถ้ามีขึ้นเกิดขึ้นเสมอ ๆ ก็จะชักนำจิตใจและความคิดไปในทางที่ดีงาม และสร้างสรรค์ จะทำให้ชีวิตและสังคมเจริญพัฒนาไปในทางที่ดีงามถูกต้อง

   2. คิดไกล พระพุทธศาสนาสอนให้ คิดไกล ไปข้างหน้าจนกว่าจะถึงจุดหมายสูงสุด ให้มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน โดยมีปัญญาสืบค้นหยั่งรู้เหตุปัจจัยยาวไกลในอดีต และมีความไม่ประมาทที่จะป้องกันความเสื่อมและสร้างสรรค์เหตุปัจจัยให้พร้อม ที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามในอนาคต บนฐานแห่งชีวิตที่อยู่กับปัจจุบัน ที่จัดการกับปัจจุบันให้ดีที่สุด ด้วยการพัฒนาตนก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลา ให้ชีวิตงอกงามสมบูรณ์จนถึงพระนิพพาน นี่คือคิดไกลอย่างยิ่ง

 3. ใฝ่สูง ก็คือใฝ่ธรรมมุ่งแสวงหาความรู้ให้เข้าถึงความจริงแท้ ปรารถนาจะสร้างสรรค์ความดีงาม บำเพ็ญประโยชน์สุขแก่สังคม ให้ชีวิตและสังคมบรรลุความดีงามประเสริฐเลิศด้วยธรรม เหมือนดังพระโพธิสัตว์ที่ตั้งปณธานใฝ่ปรารถนาโพธิญาณ มีใจเด็ดเดี่ยว มุ่งหวังบรมธรรม อย่างนี้จึงจะเรียกว่าใฝ่สูง

ความ ใฝ่สูง คือใฝ่ธรรม ที่เป็นหลักการใหญ่ประจำใจของคนทั้งสังคม คือ การถือธรรมเป็นใหญ่ เคารพธรรม บูชาธรรม คนในสังคมนี้จะต้องเชิดชูบูชาความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม ยึดเอาธรรม คือ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงามนั้นเป็นบรรทัดฐาน ถ้าสังคมไทยเป็นสังคมแห่งความใฝ่ธรรมได้อย่างนี้ ก็ถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเป็นสังคมที่มีอุดมธรรม ถ้าคนไทยมีอุดมธรรมแล้ว ปัญหาต่างๆ ที่เลวร้ายทั้งหลายจะหมดไป และความเจริญพัฒนาที่แท้จริงอันพึงปรารถนาก็จะตามมา

  การมีส่วนร่วมในสังคมพุทธ
การมีส่วนร่วมในสังคมพุทธ คือ การที่พุทธศาสนิกชนจะต้องส่วนเข้ามาช่วยเหลือสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่ให้มี ความสงบสุข ดังนั้นการเข้ามามีส่วนร่วมจะต้องเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ซึ่งพระธรรมปิฎก กล่าวว่า

    1. คนมีคุณแก่ส่วนรวม
สมาชิกที่ดีของสังคมจะเป็นผู้ช่วยสร้างสรรค์สังคม มีธรรม คือหลักความประพฤติ ดังนี้
1.1 มีหลักพรหมวิหาร คือ ธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐหรือผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่กว้างขวางดุจพระพรหม 4 อย่างคือ มีเมตตา คือความรักความปรารถนาดี มีไมตรีจิตที่ดี ต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบประโยชน์และความสุข มีความกรุณา คือความสงสาร อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของคนและสัตว์ทั้งปวง มีมุทิตา คือความเบิกบานพลอยยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข ก็มีใจแช่มชื่นเบิกบาน เมื่อเห็นเขาทำดีงามประสบความสำเร็จก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ก็พลอยยินดีบันเทิงใจด้วย พร้อมที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุน และมีอุเบกขา คือความมีใจเป็นกลาง มองตามความเป็นจริง ไม่เอนเอียง หรือมีอคติ เป็นต้น

1.2 บำเพ็ญการสงเคราะห์ คือ ปฏิบัติตามหลัการสงเคราะห์ หรือธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี ที่เรียกว่า สังคหวัตถุ 4 อย่าง คือ ทาน คือการให้ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือสงเคราะห์ ด้วยปัจจัยสี่ ทุน หรือทรัพย์สินสิ่งของ ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจ และศิลปวิทยา แก่เพื่อนร่วมสังคม ปิยวาจา คือ เจรจาอ่อนหวาน พูดคำที่สุภาพ อ่อนโยนและเป็นคำที่มีประโยชน์ที่ผู้ฟังได้ฟังแล้วชื่นใจ สบายใจเห็นประโยชน์ในคำพูดนั้น พูดให้กำลังใจ เป็นต้น อัตถจริยา คือ การบำเพ็ญตนให้เป็นคนมีประโยชน์ต่อผู้อื่น ได้แก่ การไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนมนุษย์ และไม่นิ่งดูดายเมื่อผู้อื่นขอความช่วยเหลือ การสนับสนุนในสิ่งที่เห็นว่าถูกต้องดีงาม เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ในสังคม และ สมานัตตา คือ การปฏิบัติตนสม่ำเสมอ ไม่ถือตัว ไม่หยิ่งจองหองในเมื่อได้ดีมีฐานะ ซึ่งได้แก่ การให้ความนับถือเพื่อนมนุษย์ ผู้มีฐานะศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับตน ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามบุคคลที่ด้อยกว่าตน เป็นต้น

  2. คนผู้เป็นส่วนร่วมที่ดีของหมู่ชน
คนผู้เป็นส่วนร่วมที่ดีของหมู่ชน ซึ่งจะช่วยให้หมู่ชนอยู่ร่วมกันด้วยดี มีธรรม คือหลักความประพฤติ ดังนี้

2.1 พึ่งตนเองได้ คือทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้ พร้อมที่จะรับผิดชอบตนเอง ไม่ทำตัวให้เป็นปัญหาหรือเป็นภาระถ่วงหมู่คณะ หรือหมู่ญาติ ด้วนการประพฤติธรรมสำหรับสร้างที่พึ่งตนเอง เรียกว่า นาถกรณธรรม 10 ประการคือ มีศีล คือประพฤติดีมีวินัย มีพหุสัจจะ คือมีการศึกษาเล่าเรียนมาก มีกัลยาณมิตตตา คือรู้จักคบคนดี มีโสวจัสสตา คือเป็นคนพูดง่าย ไม่กระด้างดื้อรั้น มีกิงกรณีเยสุ ทักขตา คือ เอาใจใส่ช่วยเหลือกิจการของหมู่คณะ มีธรรมกามตา คือ เป็นผู้ใฝ่ศึกษาหลักธรรม สิ่งดีงามทั้งหลาย มีวิริยารัมภะ คือมีความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน มีสันตุฏฐี คือ มีความรู้จักพอ ไม่โลภมาก มีสติ คือมีสติมั่นคง มีความรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา และมีปัญญา คือเป็นผู้เข้าใจถึงเหตุผล รู้ดีรู้ชั่ว เป็นต้น

2.2 อยู่ร่วมในหมู่ด้วยดี ในด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ หรือร่วมชุมชน ตลอดจนพี่น้องร่วมครอบครัว พึงปฏิบัติหลักการอยู่ร่วมกัน ที่เรียกว่า สาราณียธรรม (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) มี 6 ประการคือ มีเมตตากายกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วย เมตตา นั่นคือ การอยู่ด้วยกันด้วยการกระทำดีต่อกัน ไม่เบียดเบียนทำร้ายกัน แต่มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกัน เพื่อความผาสุขร่วมกัน เป็นต้น มีเมตตาวจีกรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา คือใช้หลักการทูต โดยการเจรจาให้เข้าใจกัน ไม่กล่าวร้ายเสียดสีกัน เป็นต้น มีเมตตามโนธรรม ได้แก่ การเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา คือการไม่คิดทำร้ายซึ่งกันและกัน มีความซื่อสัตย์เคารพในความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีจิตเมตตาต่อกัน เป็นต้น แบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาด้วยความชอบธรรมแก่เพื่อร่วมสังคม ได้แก่ การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภคเครื่องมือการเกษตร ตลอดจนวิทยาการความรู้ต่างๆ ให้แก่เพื่อนร่วมสังคม รวมตลอดถึงการรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ไม่ทำลายระบบนิเวศน์สิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบมวลมนุษย์ เป็นต้น รักษาความประพฤติ(ศีล) เสมอกัน ได้แก่ การอยู่ร่วมกันอย่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีความเสมอภาคกัน และ มีความเห็นร่วมกัน ไม่วิวาทเพราะมีความเห็นผิดกัน ได้แก่ การอยู่ร่วมกันจะต้องยอมรับในกฎกติกาทางสังคมที่กำหนดไว้ ไม่กระทำตนเสมือนว่าเป็นการฝ่าฝืนมติของสังคมก ไม่เอารัดเอาเปรียบกันหรือข่มเหงกีดกันผู้อื่น มีแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและสังคมที่ตนอาศัยอยู่ด้วย

  3. คนมีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี
สมาชิกของรัฐผู้มีส่วนร่วมให้เกิดการปกครองที่ดี โดยเฉพาะคนในสังคมประชาธิปไตย พึงรู้หลักและปฏิบัติดังนี้
 3.1 รู้หลักอธิปไตย คือ รู้หลักความเป็นใหญ่ที่เรียกว่า อธิปไตย 3 ประการคือ อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ คือ ถือเอาตนเอง ฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ ของตนเป็นใหญ่ ฝ่ายที่เป็นกุศลในด้านนี้คือ การเว้นจากการทำความชั่ว มุ่งทำความดีด้วยการเคารพตนเอง โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ คือ ถือความนิยมของชาวโลกเป็นใหญ่ หวั่นไหวไปตามเสียงนินทา สรรเสริญ เป็นต้น ฝ่ายที่เป็นกุศลได้แก่ เว้นจากการทำชั่ว มุ่งทำความดีด้วยการเคารพเสียงของชนหมู่มาก และ ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ คือ ถือหลักการ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผลเป็นใหญ่ กระทำด้วยการคำนึงถึงสิ่งที่ได้ศึกษา ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การรู้จักพิจารณาอย่างถ่องแท้ ตามกำลังสติปัญญา และมุ่งคิดพิจารณาด้วยความบริสุทธิ์ใจ เป็นไปโดยชอบธรรม และเพื่อความดีงาม ตามหลักโดยทั่วไปได้แก่ การรู้จักเคารพหลักการ กฎ ระเบียบ กติกา และข้อบังคับทางสังคมหรือองค์กรนั้น ๆ ดังนั้นหากเราต้องการถือเอาความถูกต้องเป็นใหญ่ จะต้องยึดหลักของธรรมาธิปไตย โดยมิได้ถือตนหรือถือโลกเป็นใหญ่

3.2 มีส่วนในการปกครอง โดยปฏิบัติตามหลักการมีส่วนร่วมรับผิดชอบที่จะช่วยป้องกันความเสื่อม นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยส่วนเดียว ที่เรียกว่า อปริหานิยธรรม คือ หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม ไม่ทำตามอำเภอใจตนเอง ให้เกียรติผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ ให้เกียรติและคุ้มครองสตรี เคารพสักการะโบราณสถาน และดูแลรักษาผู้ทรงศีล

 738299vt6qv1ppxh

 หน่วยการเรียนรู้ ( พิเศษ )

หลักธรรมทางศาสนาในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

 

1.ความสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความมีน้ำใจไมตรีที่ดีต่อกัน ความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ โดยไม่ต้องใช้เงินทองมากมาย เพียงแต่แสดงความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยการช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ก็เป็นการแสดงน้ำใจได้ เช่น การพาเด็กหรือผู้สูงอายุข้ามถนน หรือการสละที่นั่งบนรถโดยสารให้หญิงมีครรภ์ หรือแม้แต่การมีส่วนร่วมช่วยกันพัฒนาสังคมของเราให้ดีขึ้นก็ได้ เป็นต้น ก็นับว่าเป็นการแสดงน้ำใจ การแสดงความมีน้ำใจจึงไม่ได้วัดกันด้วยเงินทอง บางคนมีเงินมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาจะเป็นคนมีน้ำใจ เพราะเขาอาจแล้งน้ำใจก็ได้ บางคนเป็นเศรษฐีแต่มีความตระหนี่มากไม่ยอมแม้จะสละเงินให้ผู้อื่นโดยที่ตนไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน ถึงกระนั้นคนที่ไม่ได้มีเงินมากเพียงแค่พอมีพอกินอาจเป็นคนที่พอมีน้ำใจให้คนอื่นบ้างก็ย่อมเป็นที่รัก และชื่นชมของผู้อื่นเสมอ

ความมีน้ำใจนั้น ตรงกันข้ามความเห็นแก่ตัว ขณะที่คนเห็นแก่ตัวมักจะคิดแต่ประโยชน์ส่วนตัวมาก่อน แต่แน่นอนที่คนมีน้ำใจจะคิดถึงประโยชน์ของส่วนรวมบ้าง และความ มีน้ำใจก็ยังตรงกันข้ามกับความอิจฉาริษยา คนที่อิจฉาริษยาคนอื่นย่อมปรารถนาที่จะเห็นความล้มเหลวของผู้ที่ได้ดีกว่า แต่คนมีน้ำใจนั้น เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่าจะมีมุทิตาและจะ แสดงความยินดีด้วยอย่างจริงใจ ผู้มีน้ำใจจะนึกถึงผู้อื่นและจะพยายามช่วยผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่า ผู้มีน้ำใจจึงเป็นที่รักและต้องการของคนทั่วไป และเป็นคนมีคุณค่าต่อสังคม และที่สำคัญพวกเขาเหล่านั้นก็จะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตอย่างแน่นอน

 2 หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันของศาสนาคริสต์

หลักคำสอนของศาสนาคริสต์ที่สำคัญ  คือ ”  การปฏิบัติตามบัญญัติ  10  ประการ “ เป็นบัญญัติที่สำคัญสำหรับชาวคริสต์  เช่น  หลักการที่เป็นรูปธรรม  เพื่อการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  โดยมีบทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือบัญญัติแห่งความรัก  สำหรับหลักธรรมในการอยู่ร่วมกันของคริสต์ศาสนา

นอกจากหลักคำสอนทั่วๆไปแล้ว ศาสนาคริสต์ยังมีหลักธรมมเฉพาะเรื่องที่จะช่วยให้บุคคลทั่วไปนำไปปฏิบัติสำหรับพัฒนาตนเอง เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม คือ

1.ความรักเพื่อนมนุษย์

2 .ความประหยัดและความซื่อสัตย์

3.การให้อภัย

4.ความมีน้ำใจเมตตากรุณาอ่อนน้อมถ่อมตนและมีความอดทน

5.การแบ่งปัน

6.ความยุติธรรม

7.ความเสมอภาค

8.ความสามัคคี

3.หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันของศาสนาอิสลาม

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่สำคัญศาสนาหนึ่งของโลกหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม คือ หลักศรัทธา 6 ประการ และ

หลักปฏิบัติ 5 ประการ

หลักศรัทธา 6 ประการได้แก่

1.  ศรัทธา ใน พระเจ้าองค์เดียว คือ อัลลอฮฺ

2.  ศรัทธาใน บรรดา มลาอิกะฮฺ ของ พระองค์

3.  ศรัทธา ใน บรรดา คัมภีร์ ทั้งหลายของพระองค์

4.  ศรัทธาในบรรดานบี (ศาสดา) ทั้งหลาย

5.  ศรัทธาในวันสุดท้าย และ การเกิดใหม่ ใน วันปรโลก

6.ศรัทธาในกฎกำหนดสภาวะของพระองค์

หลักปฏิบัติ 5 ประการ
ชาวมุสลิมจะต้องปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาด้วยกาย วาจา และใจ
1.การปฏิญาณตน เป็นการประกาศตนยอมรับด้วยความศรัทธาและความบริสุทธิ์ใจว่า พระอัลเลาะฮ์เป็นพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียวเท่านั้น และยอมรับว่าท่านนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระเจ้า

30

2. การละหมาด เป็นการนมัสการพระเจ้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยปฏิบัติวันละ ๕ เวลา คือ
2.1 เวลาย่ำรุ่ง เรียกว่า ละหมาด ซุบหฺ ปฏิบัติ ๒ ร็อกอะฮ์
2.2 เวลากลางวัน เรียกว่า ละหมาด ดุฮฺริอฺ ปฏิบัติ ๔ ร็อกอะฮ์
2.3 เวลาเย็น เรียกว่า ละหมาด อะซัร ปฏิบัติ ๔ ร็อกอะฮ์
2.4 เวลาพลบค่ำ เรียกว่า ละหมาด มัฆริบ ปฏิบัติ ๓ ร็อกอะฮ
2.5 เวลากลางคืน เรียกว่า ละหมาด อิชาอ์ ปฏิบัติ ๔ ร็อกอ

31

3. การถือศีลอด เป็นการงดการบริโภคอาหาร เครื่องดืม และการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดินเป็นเวลา ๑ เดือน ตามกำหนด ซึ่งจะมีในเดือน ๙ เรียกว่า เดือนรอมาฏอน การถือศีลอดนี้เป็นการฝึกฝนร่างกาย และจิตใจให้มีความอดทน

32

๔. การบริจาคซะกาต เป็นการบริจาคทรัพย์หรือให้ทานแก่คนที่เหมาะสมตามที่ศาสนากำหนด เช่น เด็กกำพร้า คนที่ขัดสน เพื่อเป็นการขัดเกลาจิตใจให้สะอาดลดความเห็นแก่ตัวลง และเป็นการลดช่องว่างในสังคม

33

๕.การประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นการเดินทางไปประกอบพิธกรรมทางศาสนาที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวมุสลิมระลึกถึงพระเจ้าและได้พบปะพี่น้องมุสลิมจากทั่วโลก

34

 

4.หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

คัมภีร์ทางศาสนาที่สำคัญ คือ คัมภีร์พระเวท ประกอบด้วย ฤคเวท สามเวท และอถรรพเวท

ศาสนาพราหมณ์มีหลักคำสอนเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน เป็นหลักสำหรับบุคคลปฏิบัติต่อกัน ดังนี้

1. คนเราไม่ควรทำร้ายซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้ผู้อื่นเจ็บทั้งทางกาย  ทางวาจา และทางใจ

2. มีความกรุณา

3.ต้อนรับผู้อื่นด้วยความเต็มใจ

4.การมีสัจจะ

5.ไม่ลักทรัพย์

6.การทำหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงตัวเอง

5.หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันของศาสนาสิข

คำว่า สิกข์ เป็นภาษาบาลี และคำว่า สิข เป็นภาษาปัญจาบ แปลว่า ผู้ศึกษาหรือศิษย์

หลักธรมมที่ศาสนาสิขเน้นเฉพาะเรื่องที่จะช่วยให้บุคคลทั่วไปปฏิบัติสำหรับพัฒนาตนเอง ได้แก่

1.ความเสมอภาคและศักดิ์ความเป็นมนุษย์

2.การกำจัดคตินิยมที่ขัดขวางสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในการแสวงหาความร่มเย็น

3. การพัฒนา

นอกจากนี้ ศาสนาสิขยังมีหลักสำหรับปฏิบัติต่อกันเป็นกิจวัตรประจำวันเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เรียกว่า นิรวาณะ คือ จงทำจิตของท่านให้เต็มไปด้วยความรัก

738299vt6qv1ppxh

ใส่ความเห็น