วิชานาฏศิลป์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 นาฏศิลป์ไทย

1.วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปะประจำชาติที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันและมีลักษณะแตกต่างกันไปตามยุคตามสมัย

1.1สมัยสุโขทัยถึงสมัยธนบุรี

นาฏศิลป์ไทยในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยธนบุรีมีวิวัฒนาการดังนี้สมัยสุโขทัย เป็นการแสดงประเภทระบำ รำ ฟ้อน ที่วิวัฒนาการมาจากการละเล่นของชาวบ้านเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจหลังจากเสร็จงานหรือแสดงในงานบุญ

*สมัยอยุธยา ได้พัฒนาการแสดงในรูปแบบของละครรำ เป็นต้นแบบของละครรำแบบอื่นๆต่อมาคือ ละครโนราชาตรี ละครนอกและละครใน
*สมัยธนบุรี มีละครรำของหลวงที่มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และมีละครของผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราช ส่วนนาฏศิลป์ที่เป็นการแสดงเพื่อสมโภชพระแก้วมรกต มีทั้งโขนละครรำ และมหรสพต่างๆ

1.2 สมัยรัตน์โกนสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์ระบำและรำ มีความสำคัญต่อพระราชพิธีต่างๆ ในรูปแบบของพิธีกรรม โดยถือปฏิบัติเป็นกฎมนเทียรบาลมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(สมัยรัชกาลที่1-รัชกาลที่4)

2.ประเภทของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ถทยมี2ลักษณะ
1.นาฏศิลป์ราชสำนัก
2. นาฏศิลป์พื้นเมือง
2.1โขน

โขน คือ การแสดงท่ารำเต้นเข้ากับจังหวะดนตรี ประกอบด้วยตัวที่เป็นยักษ์ ลิง มนุษย์ และเทวดา ตู้แสดงสวมหัวโขนไม่ร้องและเจรจาเอง แตปัจจุบันผู้แสดงเป็นมนุษย์และเทวดาไม่สวมหัวโขน และเพิ่มการขับร้องประกอบการแสดงแบบละครใน
โขนแบ่งออกเป็น5 ประเภท

1.โขนกลางแปลง
2.โขนนั่งราวหรือโขรโรงนอก
3.โขนหน้าจอ
4.โขนใน
5.โขนฉาก

2.2 ละครรำ ละครรำ หมายถึง ละครประเภทที่ใช้ศิลปะในการร่ายรำดำเนินเรื่อง ละครที่เป็นต้นฉบับเดิมของไทย 1.ละครชาตรี เป็นต้นแบบของละครรำมีผู้แสดง 3คน เครื่องดนตรี 3ชิ้น 2.ละครนอก พัฒนามาจากการละเล่นพื้นเมืองของชาวบ้าน และเมื่อได้แบบอย่างจากละครชาตรี 3.ละครใน เป็นละครรำที่มุ่งให้เห็นความประณีตงดงามของศิลปะการรำมากกว่าเนื้อเรื่อง 4.ละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครที่ปรับปรุงขึ้นมาจากแผนละครในและผสมผสานกับอิทธิพลทางตะวันตก 5.ละครพันทาง มีการปรับปรุงแนวทางละครรำ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 6.ละครเสภา วิวัฒนาการมาจากการเล่นเสภามีคนขับเสภา และมีกรับประกอบดนตรี 7.ละครหลวงวิจิตรวาทการ เป็นละครที่เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประขาธิปไตย

2.3ระบำ รำ ฟ้อน ระบำ รำฟ้อน เป็นการแสดงที่เป็นชุดชั้นสั้นๆ 1.ระบำ คือ ศิลปะของการร่ายรำตั้งแต่ 2คนขึ้นไป เป็นการที่แสดงที่เน้นความงดงาม 2.รำ  2.รำ เป็นศลปะของการรำที่แสดงออกในรูปแบบของการแสดงคนเดียวเรียกว่ารำเดียว และการแสดงที่ใช้รำเป็นคู่ ใช้แสดง2คนขึ้นไป เรียกว่า รำหมู่ 3.ฟ้อน เป็นการแสดงทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของการฟ้อนจะใช้ผู้แสดงจำนวนมาก อาศัยความพร้อมเพียง ลักษณะของการฟ้อนมี 5ประเภท

3.1ฟ้อนที่สืบสานมาจากการนับถือผี

3.2ฟ้อนแบบเมือง

3.3ฟ้อนแบบม่าน

3.4ฟ้อนแบบเงี้ยวหรือแบบไทยใหญ่

3.5ฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นในการแสดงละครพันทาง

2.4นาฏศิลป์พื้นเมือง นาฏศิลป์พื้นเมือง  พัฒนามาจากนาฏศิลป์พื้นเมืองที่เป็นภูปัญญาของชาวบ้านภาคต่างๆ 1.นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ เกิดจากความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ การฟ้อนของภาคเหนือมี2รูปแบบ 1.ฟ้อนแบบดั้งเดิม 2.ฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมหหหลวง 2.นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง เกิดจากความความเชื่อ พิธีกรรม และความศรัทธาในพระพุทธศาสนา นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลางมี 2 รูปแบบ 1.เพลงพื้นเมือง 2.การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง 3.นาฏศลป์พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดจากการฟ้อนรำเพื่อเซ่นสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 4.นาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้ เกิดจากความเชื่อ พิธีกรรม และได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ

3. การแสดงนาฏศิลป์:รำพระรามตามกวาง
3.1 ประวัติความเป็นมา
พระรามตามกวาง เป็นการแสดงประเภทรำคู่ที่เป็นชุดเป็นตอน ซึ่งอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ตอน ลักสีดา ทศกัณฐ์สั่งให้ม้ารีศแปลงเป็นกวางทองไปล่อลวงนางสีดา ม้ารีศทำตามบัญชาของทศกัณฐ์โดยแลงกายเป็นกวางทองไปยังบรรณศาลา ต่อมาทศกัณฐ์แอบดูอยู่จึงแปลงกายเป็นฤาษีเข้าไปหานางสีดา พูดจา  หว่านล้อม นางสีดากริ้วจึงตรัสบริภาษจนทศกัณฐ์โกรธกลายร่างเป็นยักษ์ แล้วตรงเข้าฉุดนางสีดาไปกรุงลงกา

3.2ท่าทางที่ใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำ
ลักษณะท่ารำในชุดพระรามตามกวาง ประกอบด้วยการรำ 2 ลักษณะ คือ การรำบท หมายถึงการใช้ท่ารำที่ตีความหมายตามบทร้อง และการรำหน้าพาทย์ หมายถึงการำให้เข้ากับจังหวะเพลงทำให้การแสดงมีลีลาท่ารำให้ความรู้สึกเกี่ยวกับอารมณ์ต่างๆ

3.3เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงรำพระรามตามกวาง ได้แก่ ดนตรีและเพลงร้อง ดนตรีใช้วงปี่พาทย์เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ รัว เป็นต้า เพลงที่ขับร้องตามบทร้อง ได้แก่ เพลงแขกไทร และเพลงทะเลบ้า

3.4 ความงามและคุณค่า
การแสดงชุดพระรามตามกวางมีคุณค่าเเละความงามได้แก่
1.ความงามและคุณค่าที่มีความสมบูรณ์ของกระบวนท่ารำ
2.ความงามในความต่อเนื่งของกระบวนท่ารำ คือ การทำท่ารำท่าหนึ่งแล้วเปลี่ยนไปอีกท่าหนึ่งด้วยวิธีการเคลื่อนไหวร่างกายของทุกส่วนอย่างกลมกลืน
3. ความงามในความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับองค์ประกอบอื่นๆ ดังนี้
3.1 บทละคร
3.2 ดนตรี
3.3 การขับร้อง
3.4 เครื่องแต่งกาย
3.5 องค์ประกอบอื่นๆในการแสดง

3.5เทคนิคการจัดการแสดง

เทคนิคในการจัดการแสดงมีความสำคัญมากในการสื่อความหมายและอารมณ์ในการแสดงทำให้การแสดงมีความแปลกใหม่ สง่างาม และน่าฝม มีดังนี้

1. แสง สี เสียง เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งในการแสดงรำพระรามตามกวาง แสงและสีเป็นของคู่กัน
2. ฉาก ช่วยสร้างบรรยากาศในการแสดง โดยฉากที่สร้างขึ้น
3.เครื่องแต่งกาย เป็นส่วนสำคัญที่จะขาดไม่ได้ในการแสดง สีสัน และรูปแบบของเครื่องแต่งกาย
4. อุปกรณ์ประกอบการแสดงและอุปกรณ์ประกอบฉาก เป็นเครื่องใช้สอยสำหรับผู้แสดงเฉพาะ
5. สถานที่จัดแสดง อาจเป็นเวทีกลางแจ้งหรือเวทีโรงละคร
6. โอกาสที่ใช้ในการแสดง รำพระรามตามกวางสามารถแสดงได้ทุกโอกาส เช่น งานรื่นเริงประจำปี

3.6 การวิจารณ์และประเมินคุณภาพการแสดงรำพระรามตามกวาง
มีประเด่นสำคัญดังนี้
1.รูปแบการแสดง
2.กระบวท่ารำ
3.ความสามารถของผู้แสดง
4.องค์ประกอบอื่นๆ
5.การประเมินคุณภาพการแสดง

4 .การแสดงนาฏศิลป์:รำกลองยาว
4.1.ประวัติความเป็นมา
รำกลองยาว เป็นการแสดงที่กรมศิลปากรปรับมาจากการละเล่นของชาวบ้านและต่อมาก็ได้นำไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไปเรื่อยๆ

4.2ท่าทางที่ใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำ
กลอนยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนจังหวะให้ผู้แสดงท่ารำ
กลองรำ หมายถึง ผู้แสดงเป็นคู่ชาย-หญิง จะแสดงกี่คู่ก็ได้

4.3 เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงรำกลองยาว ไม่มีชื่อเพลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน แต่มีทำนองเพลงอยู่ในกลุ่มพม่ากลองยาว

4.4 ความงามและคุณค่า
คุณค่าและความงามของการแสดงชุดรำกลองยาว ในฐานะที่เป็นศิลปะพื้นบ้านของภาคกลางเป็นชุดการแสดงที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมประเพณี เช่น ขบวนแห่นาค แห่กฐิน นับว่ารำกลองยาวเป็นนาฏศิลป์พื้นบ้านจึงมีค่าควรแก่การอนุรักษ์และสืบสานต่อไป
1ความงามในกระบวนท่ารำที่สัมพันธ์กับกลองยาว
2.ความงามที่เกิดจากความต่อเนื่องของท่ารำ
3.ความงามที่เกิดจากความสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ เช่นเครื่องแต่งกาย ความไพเราะของทำนองเพลง ความงามที่เกิดจากองค์ประกอบต่างๆ

4.5 เทคนิคการจัดการแสดง
การจัดการแสดงนาฏศิลป์ไทย ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย เพื่อตอบสนองของผู้ชม มีดังนี้
1.แสง สี เสียง เป็นตัวช่วยสร้างบรรยากาศ ให้ผู้ฝมมีความเพลิดเพลิน
2.ฉาก ฉากที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเสริม
3.อุปกรณ์ประกอบฉากและการแสดง จัดแต่งตามลักษณะของฉาก
4.สถานที่จัดการแสดง สถานรำกลองยาวต้องเป็นพื้นที่กว่า
5.โอกาสที่ใช้ในการแสดง ในงามต่างๆ เช่น งานผ้าป่า งานฉลองกฐินเป็นต้น

4.6 การวิจารณ์และประเมินคุณภาพของการแสดงรำกลองยาว
การวิเคราะและประเมินคุณภาพการแสดง มีประเด็นสำคัญดังนี้
1.รูปแบบของการแสดง
2.ประเภทของการแสดง
3.กระท่า ลีล่าท่ารำ
4.ความสามารถของผู้แสดง ในการรำต่างๆ
5.องค์ประกอบอื่นๆ เช่น การแต่งกาย แสง สี เสียง เป็นต้น
6.การประเมินคุณค่าของการแสดงต่างๆ

123918xheac5dzk4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ละครตะวันตก

1.วิวัฒนาการของละครตะวันตก
การเกิดขึ้นของศิลปะการแสดงละครเกิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาการของมนุษย์ที่เริ่มรู้จักสร้างวัฒนธรรมขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ล่าสัตว์ รู้จักออกเสียงสูง ต่ำ
1.1ละครตะวันตกยุคแรก
ยุคเริ่มแรกของละครตะวันตก ได้แก่ ละครกรีกและโรมัน เป็นระยะเวลาเริ่มต้นในการวางรากฐานของละครตะวันตกประมาณ500ปีก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยกรีกมีลักษณะเป็นนครรัฐไม่ได้รวบรวมกันเป็นขึ้นอาณาจักร
ประวัติของละครในยุคเริ่มแรกของ 2ประเทศที่สำคัญคือ
1.ละครกรีก รุ่นแรกๆ เป็นโศกนาฏกรรมทั้งสิ้น
2.ละครสมัยโรมัน ได้นำละครกรีกโบราณมาปรับปรุง เพื่อแสดงในงานบูชาเทพจูปิเตอร์และเทพเจ้าที่ชาวโรมันนับถือ

1.2ละครตะวันตกในยุคกลาง
ละครตะวันตกในยุคกลางเกิดขึ้นจากวัดและโบสถ์ พระจะสอนศาสนาด้วยการแสดงละครประกอบ ทำให้ชาวบ้านเข้าใจและสนใจศาสนามากขึ้น
ละครตะวันตกในยุคกลางมี2รูปแบบ ดังนี้

1.ละครศาสนา พัฒนามาจากการร้องเพลงในโบสถ์ จัดแสดงโดยสมาชิกของนักบวชและนักร้องประสานเสียง
2.ละครที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา ในช่วงยุคปลายกลางได้เกิดรูปแบบละครที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาขึ้นใหม่ 2 แนว คือ
1.1 ละครพื้นบ้าน
1.2 ละครตลกชวนหัว
1.3ละครตะวันตกในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา

ละครตะวันตกในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นยุคที่ผู้สนใจค้นคว้าวิทยาการใหม่ๆ แยกออกเป็น
1.1คอมเมอเดีย เดลา เต้
1.2 อุปรากร
1.3ละครของอังกฤษในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ประชาชนในอังกฤษทุกชนชั้นวรรณะจะนิยมดูละครกันมาก
1.4ละครตะวันตกในยุคปัจจุบัน
ละครตะวันตกในยุคปัจจุบันต้องแข๋งขันกับโทรทัศน์ และภาพยนตร์ แต่ละเวทีของอังกฤษแยะอเมริกา ยังเป็นที่นิยมของคนดูอยู่จำนวนมาก
ละครตะวันตกในสมัยปัจจุบันเกิดขึ้นมากมาย ตัวอย่งละครที่ดีลักระเด่นที่รู้จัก ได้แก่

1.ละครเพลง เกิดขึ้นในสมัยที่อียปต์ กรีก โรมัน มีศิลปวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง
2.ละครสมัยใหม่ เกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรป เป็นละครที่มุ่งแสดงปัญหาของสังคม ตามสถานการณ์ความเป็นจริง
3.ละครแนวเอปิคหรือมหากาพย์ เป็นละครเพื่อสังคมที่มีแนวคิดในการกระตุ้นความสำนึกทางสังคม

2.ประเภทของละครตะวันตก
การแบ่งประเภทของละครตะวันตกยังไม่มีข้อยุติว่าจะแบ่งออกกี่ประเภทจึงเหมาะสมด้วยเหตุนี้จึงมีการแบ่งประเภทของละครตะวันตกได้หลายรูปแบบ ซึ่งมีอยู่2ประเภท คือ

2.1 ละครประเภทโศกนาฏกรรม
2.2ละครประเภทสุขนาฏกรรม
3.ลักษณะการนำเสนอละครตะวันตก
ลักษณะการนำเสนอ หมายถึง การสื่อสารสถานการณ์ต่างๆ ของละครไปยังผู้ชม ซึ่งแบ่งไว้2ลักษณะ

3.1การนำเสนอละครแบบไม่เหมือนจริง
การนำเสนอละครแบบไม่เหมือนจริง เป็นการนำเสนอละครที่มีจุดประสงค์ให้ผู้ชมทราบเป็นการแสดง ไม่ใช้ชีวิตจริง
3.2 การนำเสนอละครแบบเหมือนจริง
การนำเสนอละครแบบเหมือนจริง เป็นการแสดงละครที่มุ่งแสดงออกซึ่งสภาพชีวิตจริง ไม่เพ้อฝัน

4.ละครสร้างสรรค์
ละครสร้างสรรค์ เป็นละครที่ใช้ในการศึกษา ซึ่งเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสมมติบทบาท เพื่อที่จะให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจลึกซึ่งในประเด็นการเรียน
4.1ลักษณะของละครสร้างสรรค์
เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดใช้จินตนาการเพื่อนเล่าบทสมมติ
4.2ประเภทของละครสร้างสรรค์

1.การแสดงบทบาทสมมติ

2.ละครสด ละครที่ตู้แสดงคิดคำพูดขึ้นเอง

3.ละครหุ่น เป็นการแสดงส่งเสริมความคิด
4.ละครใบ้ การแสดงที่ใช้ลีลาท่าทางสื่อความ

4.3องค์ประกอบของละครสร้างสรรค์
1.เรื่อง
2.จินตนาการ
3.การแสดงออกด้วยท่าทาง เสียง ภาษา
4.ผู้นำกิจกรรมและผู้ร่วมกิจกรรม
5.สถานที่

4.4ความงามและคุณค่า
1.พัฒนาด้านการเรียนรู้
2.พัฒนาด้านจิตใจ
3.พัฒนาทักษะในการคิด
4.พัฒนาจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
5.พัฒนาทักษะในการใช้ร่างกายและการเคลื่อนไหว
6.พัฒนาการรับรู้ความเข้าใจในสังคม

123918xheac5dzk4

ใส่ความเห็น